อย่างมหาวิทยาลัยเหรินหมินแห่งประเทศจีน กรุงปักกิ่ง นำ DeepSeek มาปรับใช้กับการสอน การวิจัย และการบริหาร Gong Xinqi ผู้บริหารของมหาวิทยาลัยกล่าวว่า ทางมหาวิทยาลัยใช้ DeepSeek ในการพัฒนาโมเดลขนาดใหญ่ เพื่อให้คณะต่างๆ นำโมเดลนี้ไปใช้ในการวิจัย การเรียน การสอน ในอนาคต 

อาจารย์และนักศึกษาป้อนสื่อการเรียนการสอนและข้อมูลการวิจัยลงในโมเดล เพื่อพัฒนาฐานข้อมูลเฉพาะทาง เช่น คณะคณิตศาสตร์สร้างผู้ช่วยสอน AI เพื่อให้ข้อมูลเชิงวิชาการ Zhao Guangkai นักศึกษามหาวิทยาลัยเหรินหมินกล่าวว่า สามารถป้อนข้อมูลคณิตศาสตร์ลงในระบบได้ตลอด 24 ชั่วโมง ช่วยลดเวลาในการสื่อสารลงอย่างมาก  นอกจากนี้ มหาวิทยาลัยยังใช้ DeepSeek ให้บริการด้านการศึกษาอีกกว่า 1,300 ประเภท

ที่มหาวิทยาลัยนานไค เทียนจิน อาจารย์และนักศึกษาสามารถพัฒนาแอปพลิเคชัน AI มี AI Agent กว่า 8,000 รายการ เพื่อสนับสนุนการวิจัยและกิจกรรมต่างๆ อย่างคณะวรรณคดีพัฒนาแอปพลิเคชั่น “Smart Learning Companion” สำหรับการเรียนการสอนวรรณคดี Feng Dajian รองคณบดี คณะวรรณคดีมหาวิทยาลัยนานไคกล่าวว่า คณะวรรณคดีพัฒนาฐานข้อมูล AI จากสื่อการสอนวรรณกรรมกว่า 635 ประเภท นักศึกษาสามารถหาข้อมูลต่างๆ ให้ครูช่วยตรวจสอบอีกครั้ง และส่งข้อมูลป้อนกลับในฐานข้อมูล AI เพื่อพัฒนาฐานข้อมูล AI ที่มีประสิทธิภาพมากขึ้น  

เครดิต China Media Group (CMG)