สำนักข่าวเอเอฟพี รายงานจากกรุงกัวลาลัมเปอร์ ประเทศมาเลเซีย เมื่อวันที่ 6 มี.ค. ว่า มาเลเซียเป็นผู้เล่นหลักในภาคส่วนชิปที่สำคัญ แต่มุ่งเน้นไปที่บริการบรรจุภัณฑ์ การประกอบ และการทดสอบเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นตลาดระดับล่าง
ข้อตกลงดังกล่าว จะทำให้อาร์ม ของบริษัท ซอฟต์แบงก์ จัดหาการออกแบบชิปและเทคโนโลยีอื่น ๆ เพื่อช่วยให้มาเลเซียก้าวไปสู่การผลิตที่มีมูลค่าเพิ่มมากขึ้น เช่น การผลิตแผ่นเวเฟอร์ และการออกแบบวงจรรวม โดยมาเลเซียจะจ่ายเงิน 250 ล้านดอลลาร์สหรัฐ (ราว 8,400 ล้านบาท) ในช่วงเวลา 10 ปี เพื่อรับการสนับสนุนจากอาร์ม
Arm agrees to provide chip designs and tech to Malaysia for $250M over the next ten years, as the government targets semiconductor exports of $270B by 2030 (@anisahshukry / Bloomberg)https://t.co/FONswUp1SZhttps://t.co/kVp83vPc0Shttps://t.co/ZOzeer1FAj
— Techmeme (@Techmeme) March 5, 2025
“ด้วยความร่วมมืออย่างครอบคลุมกับอาร์ม เราได้วางแผนทางเทคโนโลยีที่ทะเยอทะยานที่สุดเท่าที่เคยมีมา นั่นคือ การบุกเบิกชิปปัญญาประดิษฐ์ (เอไอ) ที่ผลิตโดยมาเลเซีย” นายกรัฐมนตรีอันวาร์ อิบราฮิม ผู้นำมาเลเซีย กล่าวก่อนเป็นสักขีพยานในการลงนาม
นอกจากนี้ อันวาร์กล่าวเพิ่มเติมว่า ชิปเหล่านี้จะได้รับการออกแบบ ผลิต ทดสอบ และประกอบที่มาเลเซีย ตลอดจนขายให้กับส่วนอื่น ๆ ของโลก อีกทั้งอาร์มจะจัดตั้งสำนักงานแห่งแรกในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ ที่กรุงกัวลาลัมเปอร์ โดยมีเป้าหมายเพื่อขยายการเข้าถึงของบริษัทในภูมิภาค รวมถึงออสเตรเลีย และนิวซีแลนด์
ด้านนายราฟิซี รามลี รมว.เศรษฐกิจมาเลเซีย กล่าวว่า ความร่วมมือครั้งนี้ จะทำให้มาเลเซียและอาร์ม สามารถสร้างห่วงโซ่อุปทานที่สมบูรณ์ในอุตสาหกรรมขั้นสูง เช่น เซิร์ฟเวอร์ข้อมูลเอไอ ยานยนต์ขับเคลื่อนอัตโนมัติ อินเทอร์เน็ตในทุกสิ่ง (ไอโอที) หุ่นยนต์ และอื่น ๆ.
เครดิตภาพ : AFP