“จีรพันธ์ – ชุณวัณ บุญมา” 2 พี่น้องผู้ก่อตั้งกิจการเพื่อสังคม “คาเรน ดีไซน์” ที่นำเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมของชาวกะเหรี่ยงมาผสานเข้ากับดีไซน์ที่ทันสมัยจนกลายเป็นงานคราฟต์ได้อย่างลงตัว ซึ่งคาเรน ดีไซน์ กำเนิดมาจากปัญหาปากท้องของคนในชุมชนแม่โถน้อย จ.แม่ฮ่องสอน ที่เป็นที่อยู่อาศัยของกลุ่มชาติพันธุ์ “ชาวกะเหรี่ยง” พึ่งพาการปลูกข้าวโพดเป็นรายได้หลัก และกำลังเผชิญกับปัญหาด้านเศรษฐกิจและสิ่งแวดล้อม เนื่องจากการทำไร่ข้าวโพดแบบดั้งเดิมไม่สามารถสร้างความมั่นคงทางรายได้ให้กับชุมชน และการเผาพื้นที่เพาะปลูกทุกปี ยังทำให้เกิดมลพิษ PM 2.5 นอกจากนี้วิถีชีวิตความเป็นอยู่บนดอยยังลำบากในการเข้าถึงบริการสาธารณะขั้นพื้นฐาน เช่น การไม่มีไฟฟ้าใช้เวลาฝนตก สัญญาณโทรศัพท์ติดขัด การเดินทางที่ยากลำบากเพราะอยู่ในพื้นที่ห่างไกล

แต่ 2 พี่น้องอยากเห็นการเปลี่ยนแปลงในพื้นที่ชุมชน ทำให้มองหาโอกาสใหม่ๆ โดยนำเอาภูมิปัญญาท้องถิ่นที่ถูกมองข้ามอย่างการทอผ้ากะเหรี่ยง มาต่อยอดให้ตอบโจทย์ไลฟ์สไตล์คนรุ่นใหม่ ทำให้สามารถใส่ได้ในชีวิตประจำวัน ไม่ถูกมองว่า ใส่แล้วเชย และไม่จำเป็นต้องใส่เฉพาะพิธีสำคัญอย่าง ‘การแต่งงาน’ เท่านั้น
เมื่อเห็นถึงลู่ทางนี้แล้ว “จีรพันธ์ – ชุณวัณ บุญมา” จึงได้ขยายเครือข่ายรวมกลุ่มแม่บ้าน ดัดแปลงสินค้าให้มีความหลากหลาย ไม่ว่าจะเป็น เสื้อ ชุดเดรส ย่าม และอื่นๆ รวมไปถึงการสร้างมูลค่าเพิ่มให้ “เปลือกข้าวโพด” วัสดุเหลือทิ้งจากการเก็บเกี่ยวในภาคการเกษตรให้เป็นโคมไฟตกแต่งที่ทันสมัย สไตล์มินิมอล ตอบโจทย์คนชอบแต่งบ้านด้วยวัสดุธรรมชาติ

“จีรพันธ์ – ชุณวัณ บุญมา” เล่าว่า หลังจากทำไปได้ระยะหนึ่ง ทางอาจารย์ที่รู้จักกัน ได้แนะนำให้ลองสมัครเข้าร่วมโครงการ Banpu Champions for Change ซึ่งเป็นโครงการที่ให้ความรู้เกี่ยวกับการทำธุรกิจ เนื่องจากพวกเราไม่มีความรู้ทางด้านการทำธุรกิจมาก่อน แค่ทำมา-ขายไป ไม่รู้ว่า ธุรกิจจะเติบโตแบบไหน หรือมีปัญหาอะไรหรือไม่ ซึ่งบ้านปูได้สอนพวกเราตั้งแต่การคิดคำนวณต้นทุน ตั้งราคาขาย กำหนดกำไรที่เหมาะสม บันทึกรายรับ-รายจ่าย รวมทั้งศึกษาพฤติกรรม และความต้องการของลูกค้าอย่างละเอียด สอนการทำตลาดเพิ่มเติม มองเห็นโอกาสการเติบโตมากขึ้น ทำให้พวกเราพัฒนาธุรกิจได้เร็ว และดีขึ้นมากๆ

โครงการฯ ได้ให้ทุนทดลองตลาด 80,000 บาท ในระยะเวลา 3 เดือน เน้นการขายผ่านช่องทางออนไลน์โดยเฉพาะการโปรโมทบน TikTok ที่เข้าถึงกลุ่มลูกค้าได้ง่ายและรวดเร็ว รวมทั้งการขายออนไลน์และออฟไลน์สามารถสร้างยอดขายสินค้าได้เกือบ 250,000 บาท เป็นออเดอร์ผ้าทอกะเหรี่ยงกว่า 200 ตัว และออเดอร์โคมไฟจากเปลือกข้าวโพด จำนวนกว่า 80 ตัว และในอนาคตยังวางแผนขยายฐานการผลิตไปยังชุมชนอื่นๆ อีกด้วย

“หลังจากเข้าร่วมโครงการฯ ทุกอย่างเปลี่ยนแปลงไปทิศทางที่ดีมากขึ้น เช่น คนที่มาทอผ้ากับเราก็ได้รับรายได้ต่อเดือนเพิ่มมากขึ้น จากก่อนหน้านี้รายรับประมาณ 2,000-2,500 บาทต่อคน ก็สามารถทำได้ตามเป้าหมายที่พวกเราตั้งไว้เดือนละ 5,000 ต่อคน ซึ่งเพิ่มขึ้นถึง 2 เท่า เพราะคนรู้จักธุรกิจของเรามากขึ้น จากการเพิ่มช่องทางการตลาด และมีเงินทุนที่ได้รับการสนับสนุน สามารถนำเงินทุนดังกล่าวไปซื้ออุปกรณ์การผลิตมากยิ่งขึ้น เช่น เส้นด้าย รวมถึงต่อยอดรายได้ไปช่วยฟื้นฟูป่าในพื้นที่ ผ่านการทำงานร่วมกันกับ Next Forest ที่ปรึกษาด้านการฟื้นฟูและขยายพื้นที่ป่าแบบครบวงจร ซึ่งเป็นรุ่นพี่ในโครงการฯ (SE Alumni)“
“จีรพันธ์ – ชุณวัณ บุญมา” ยังเล่าต่ออีกว่า กิจการของเราไม่เพียงแต่ให้ความสำคัญกับการพัฒนาเศรษฐกิจชุมชนเท่านั้น ยังเน้นเรื่องการฟื้นฟูสิ่งแวดล้อมของชุมชนอีกด้วย โดยชวนชาวบ้านลดพื้นที่ปลูกข้าวโพด ที่ต้องเผาป่า หันมาเพาะปลูกไม้ผลไม้ที่กินได้ เช่น มะม่วง ลองกอง อาโวคาโด รวมถึงไม้เศรษฐกิจ และไม้ดั้งเดิม ปัจจุบันสามารถลดจำนวนการปลูกข้าวโพดได้กว่า 50% หรือประมาณ 195 ไร่ จากเดิม 390 ไร่ ถือเป็นการลดการเผาป่าและเพิ่มความหลากหลายทางการเกษตรให้กับพื้นที่
นอกจากนี้ เงินที่ได้รับการสนับสนุนจากโครงการฯ ยังนำไปช่วยแก้ปัญหาไฟดับให้กับชุมชน เพราะชุมชนนี้อยู่ห่างไกล เกิดปัญหาไฟดับบ่อย โดยเฉพาะช่วงกลางคืนเวลาฝนตก ไฟจะดับทุกครั้ง พวกเราจะทำงานไม่ได้เลย

“ทุกวันนี้เราต้องขอขอบคุณโครงการ BC4C ขอบคุณบ้านปู ที่ทำให้ชีวิตความเป็นอยู่ของคนในชุมชนดีขึ้น และอยากฝากไปถึงผู้ประกอบการคนอื่นๆ ถึงแม้ว่า เราจะไม่มีความรู้ในด้านของธุรกิจ หรืออาจจะพูดไม่เก่ง ขอแค่เรามีความมั่นใจ มุ่งมั่นในแบบที่ต้องการจะทำมันจริงๆ รับรองว่าเราจะได้รับอะไรกลับไปแน่นอน ส่วนตัวพวกเราอยู่บนดอย ครั้งแรกที่ได้เข้าไปในกรุงเทพฯ ก็ไม่นึกว่า ตัวเองจะทำได้เช่นเดียวกัน เหมือนทุกทีมที่เข้าร่วมแข่งขัน ก็จะเป็นธุรกิจที่ประสบความสำเร็จ เติบโตหมดแล้ว พวกเราเป็นเพียงแค่เริ่มต้น แต่พวกเราก็ทำเต็มที่ มีความกระตือรือร้นที่ต้องการความช่วยเหลือในด้านนี้ แล้วพวกเราก็ทำได้ แค่ลองสมัครเข้าไปร่วมโครงการ BC4C เพื่อได้ความรู้ ประสบการณ์ คอนเนคชัน เพื่ออะไรหลายๆ อย่างที่เราไม่เคยรู้ในเรื่องการทำธุรกิจ พวกเราก็รู้สึกว่าสิ่งเหล่านี้เป็นกำไรของพวกเรามากๆ แล้ว”
สำหรับปี 2568 ผู้ประกอบกิจการเพื่อสังคมท่านใดสนใจเข้าร่วมโครงการ BC4C ปีที่ 14 เรากำลังจะเปิดรับสมัครเร็วๆ นี้ สามารถติดตามได้จากเพจ Banpu Champions for Change
#Banpu #BC4C #BanpuChampionsForChange #พลังเปลี่ยนแปลงเพื่อสังคม #โมเดลกิจการเพื่อสังคม #ฟื้นสิ่งแวดล้อมด้วยงานคราฟต์ #กะเหรี่ยงคราฟต์