จากกรณีข่าวที่มีคุณครูและนักเรียนร้อง กัน จอมพลัง หลังพบคุณครูผู้ชายในจังหวัดอุทัยธานี ถ่ายคลิปวิตถาร สวมหน้ากากแบทแมนและโซ่ล็อกคอ พร้อมโชว์ของลับตามห้องเรียน หวั่นเรื่องความปลอดภัย ขณะที่ด้านนายธีร์ ภวังคนันท์ รองเลขาธิการคณะกรรมการการศึกษาขั้นพื้นฐาน (กพฐ.) กล่าวว่า ขณะนี้เขตพื้นที่สั่งย้ายครูออกจากโรงเรียนดังกล่าวแล้ว โดยให้มีการตั้งคณะกรรมการสอบข้อเท็จจริงถึงเรื่องที่เกิดขึ้น และจะตรวจสอบข้อเท็จจริงอย่างรอบด้าน พร้อมให้ความเป็นธรรมกับทุกฝ่าย
- อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง : ฉาวโฉ่! ‘ครูอุทัยธานี’ ถ่ายคลิปวิตถาร ใส่หน้ากาก-โซ่ล็อกคอ โชว์เป้ากลางรร.
- อ่านข่าวที่เกี่ยวข้อง : ด่วน! ‘ครูผู้ชาย’ ฉุนจะชก ‘ครูผู้หญิง’ ปมปกป้องเด็กที่ร้องถ่ายคลิปหวิวใน รร.
ต่อหลังจากมีการนำเสนอข่าวออกไป บนสังคมออนไลน์ก็พากันตั้งคำถาม มีคนประเภทนี้จริงหรือไม่ ที่มองความรุนแรงคือความสุขและความสนุกได้ในเวลาเดียวกัน อย่างไรก็ตาม ผศ.นพ.สุรัตน์ ตันประเวช แพทย์เวชปฏิบัติทางประสาทวิทยาที่มีความเชี่ยวชาญพิเศษด้านสมองและความผิดปกติทางประสาทวิทยา ได้ออกมาโพสต์ให้ความรู้เกี่ยวกับเรื่องนี้ผ่านเพจเฟซบุ๊กระบุว่า สาระสมองกับ อจ.หมอสุรัตน์
“เห็นข่าวคลิปชายแต่งครูสวมหน้ากากเหมือนแบทแมน วิตถาร จ้ำจี้มะเขือเปราะแปะ สงสัยมะ เฮ้ย ทำไมคนพวกนี้ ชอบอะไรแปลก ๆ ถือแส้ ตบตัว ตบก้นเพี๊ยะ ใส่ชุดหนัง บ้างเทียนหยด ผูกมัดดูน่าจะทรมานมากกว่าดีเนอะ แต่การเกิดความสุขของกลุ่มนี้ มันมีที่มาที่ไป จากศาสตร์สมองนี่เอง”
มารู้จักกลุ่มพวก BDSM กันก่อน
BDSM ย่อมาจาก Bondage and Discipline การพันธนาการและการลงโทษ, Dominance and Submission การครอบงำและการยอมจำนน, Sadism and Masochism ซาดิสต์และมาโซคิสม์ ซึ่งเป็นชุดของพฤติกรรมทางเพศที่มีการตกลงกันและให้ความยินยอมระหว่างคู่สัญญา มีพฤติกรรมทางเพศที่แสดงอำนาจสะใจที่ได้ข่มเหง การควบคุมทางร่างกายมัด ด้วยความสะใจ ยิ่งความรู้สึกเจ็บปวดหรือพึงพอใจทางเพศ
อาจารย์อธิบายหน่อย Ok ฟังทางนี้
1.การรับรู้ความเจ็บปวดและเส้นทางแห่งความสุข มันรับรู้ไปจบที่สมองส่วนเดียวกัน น่าสนใจไหม คือการที่ผู้เข้าร่วมกิจกรรม BDSM รับรู้ “ความเจ็บปวด” ต่างจากปกติ
โดยทั่วไปความเจ็บปวดจะเป็นสิ่งไม่ชอบ เลวร้าย แต่ผู้ที่มีส่วนร่วมใน BDSM กลับรับรู้ว่าความเจ็บปวดในแบบที่มีการตกลงยินยอมกันสามารถสร้างความพึงใจได้ มันมีงานวิจัยสมอง
ความเจ็บปวดและความสุขมีเส้นทางประสาทร่วมกัน : ทั้งสองกระตุ้นบริเวณสมองเดียวกัน เช่น insula, anterior cingulate cortex (ACC) และ nucleus accumbens ซึ่งเกี่ยวข้องกับการประมวลผลทางอารมณ์และระบบตบรางวัล
โดยความเจ็บปวดที่ควบคุมได้สามารถกระตุ้นให้ร่างกายปล่อยสารเอ็นดอร์ฟิน ส่งผลให้เกิดภาวะคล้าย “เมาแบบธรรมชาติ” คล้ายกับภาวะหลังออกกำลังกายอย่างหนัก (runner’s high) ซึ่งอธิบายได้ว่าทำไมบางคนถึงรู้สึกเคลิบเคลิ้มหลังการเล่น BDSM ร้อง โอ๊ย ๆ แต่สายตาบอกว่าเอาอีก
เมื่อควบคุมการจะรับว่าปวดหริอไม่ได้ สมองจะมีการประเมินความเจ็บปวดใหม่ (Cognitive Reappraisal) ผู้ที่เข้าร่วม BDSM สามารถปรับกรอบความคิดใหม่ให้มองว่าความเจ็บปวดเป็นสิ่งที่ให้ความสุขหรือน่าตื่นเต้น ทำให้สมองประมวลผลความรู้สึกเจ็บปวดแตกต่างจากปกติ ยิ่งเจ็บยิ่งมันว่าซ่าน
2.เป็นข้อบทบาท เราจะเห็นว่า พวก BDSM เขาจะมี 2 บทบาท ได้แก่ผู้ครอบงำและผู้ยอมจำนน
ผู้ครอบงำ (Dominance) : การกระตุ้นสมองระบบตบรางวัล prefrontal cortex และบริเวณที่เกี่ยวข้องกับระบบโดปามีนถูกกระตุ้นมากขึ้นเมื่อมีการควบคุมหรือตัดสินใจ ซึ่งคล้ายกับความรู้สึกพึงพอใจหลังจากประสบความสำเร็จหรือได้รับชัยชนะ จัดได้แล้ว เยี่ยมไปเลย เอารางวัลความสุขไป
ผู้ยอมจำนน (Submission) : สำหรับผู้ที่รับบทบาทยอมจำนน สมองกิจกรรมของ Default Mode Network (DMN) ลดลง
DMN เป็นเครือข่ายสมองที่เกี่ยวข้องกับความคิดเกี่ยวกับตัวเอง การลดกิจกรรมของ DMN สอดคล้องกับรายงานของผู้เล่นที่เข้าสู่สภาวะ “subspace” ซึ่งเปรียบได้กับภาวะจิตใจที่ล่องลอยเคลิ้ม เหมือนท่องอวกาศอยู่ นอกจากนี้ ยังมีระบบดูแลหลังการเล่น (Aftercare) ด้วยนะ
Aftercare คือกระบวนการดูแลกันหลังเสร็จกิจกรรม BDSM เพื่อสร้างความผ่อนคลาย ลดระดับคอร์ติซอลและกระตุ้นการหลั่งออกซิโทซิน ส่งผลให้คู่เล่นรู้สึกผูกพันและปลอดภัย เหมือนได้พิชิตภูเขาเอเวอเรสต์ด้วยกันมา ก็ต้องดูแลกันเนี่ย พอมาดูข่าวนี้คิดถึงละครไทย ก็ว่า ทำไมพระเอกซาดิสต์ นางเอกถึงรักนักหนามันเป็นเช่นนี้นะเอง
ป.ล. อย่าหาทำนะ โดยเฉพาะสถานที่ ที่มันไม่เหมาะสมนะ บางราย รุนแรงนี่ ห้อเลือดหรือ ถึงชีวิตก็มี…
ขอบคุณข้อมูลและรูปภาพ : @สาระสมองกับ อจ.หมอสุรัตน์