สถานการณ์ไฟป่า หมอกควันและฝุ่นละออง ยังเกิดขึ้นอย่างต่อเนื่อง ขณะที่การลักลอบเผาป่ายังคงเกิดขึ้นในหลายพื้นที่ของประเทศไทย สร้างความเสียหายต่อทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมอย่างมากมาย รวมทั้งปัญหาหมอกควันข้ามแดนจากประเทศเพื่อนบ้านมีการคาดการณ์ว่าจะมีความรุนแรงมากขึ้น เนื่องจากสภาพภูมิอากาศที่เปลี่ยนแปลงและการทำเกษตรกรรมที่ไม่ยั่งยืน

แต่อย่างไรก็ตาม ปัญหาดังกล่าว กระทรวงทรัพยากรยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม(ทส.) ที่นำโดย ดร.เฉลิมชัย ศรีอ่อน รมว.ทส.ยังคงมุ่งมั่นในการจัดการกับปัญหาไฟป่า หมอกควัน และฝุ่นละออง โดยเฉพาะฝุ่นละออง PM2.5 ที่มีผลกระทบต่อสุขภาพอนามัยของประชาชนอย่างต่อเนื่อง โดย ทส.ได้จัดทำมาตรการรับมือสถานการณ์ไฟป่า หมอกควันและฝุ่นละออง ประกอบด้วย การเตรียมการรับมือล่วงหน้าให้เร็วขึ้น วิเคราะห์จัดทำพื้นที่เสี่ยงการเผาเสี่ยงฝุ่น(Risk Map) ควบคุมพื้นที่แบบมุ่งเป้าพื้นที่ป่าแปลงใหญ่กลุ่มป่ารอยต่อที่สามารถลุกลามเป็นพื้นที่กว้าง มุ่งเน้นพื้นที่ที่มีปัญหาเพื่อยกระดับปฎิบัติการของภาครัฐข้ามเขตปกครองบริหารไฟในพื้นที่เกษตรช่วงการเก็บเกี่ยวภายใต้ระบบการลงทะเบียนให้เพื่อสวร้างแรงจูงใจและบังคับใช้กฎหมายอย่างเคร่งครัดกับผู้กระทำผิดตมหลักที่ยืดหยุ่นโดยใช้การสื่อสารที่รวดเร็ว ตรงประเด็น ทนเหตุการณ์ เข้าถึงกลุ่มเป้าหมาย กระจายข้อมูลทั่วทุกพื้นที่ มีตัวชี้วัดที่คำนึงถึงการลดผลกระทบต่อประชาชน โดยการวางวแนวทางปฎิบัติทั้งในระดับประเทศ ระดับกลุ่มพื้นที่และระดับจังหวัด


ที่สำคัญรัฐบาลโดย น.ส.แพรทองธาร ชินวัตร ได้จัดสรรงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2568 งบกลาง รายการเงินสำรองจ่ายเพื่อกรณีฉุกเฉินหรือจำเป็นโครงการขับเคลื่อนมาตรการรับมือสถานการณ์ไฟป่า หมอกควันและฝุ่นละออง ปี 2568 กับ ทส.เป็นเงินทั้งสิ้น 433,669,030 บาท


“ได้มอบนโยบายและสั่งการให้ทุกหน่วยงานแก้ปัญหาไฟป่า หมอกควันและฝุ่นละอองด้วยความ รวดเร็ว ตรงเป้า เข้าถึงพื้นที่ มีประสิทธิภาพสูงสุดโดยบริหารจัดการแบบไร้รอยต่อ มุ่งเน้นไปที่พื้นที่เสี่ยงเผาไหม้ขนาดใหญ่ 14 กลุ่มป่า ที่มีแนวโน้มเกิดไฟป่ามากที่สุด ได้แก่กลุ่มป่าลุ่มน้ำปาย กลุ่มป่าศรีลานนา – แม่ลาว กลุ่มป่าสะเมิง กลุ่มป่าสาละวิน กลุ่มป่าตอนใต้จังหวัดเชียงใหม่ กลุ่มป่าถ้ำผาไท กลุ่มป่าแม่ยม กลุ่มป่าเหนือเขื่อนสิริกิติ์ กลุ่มป่าเขื่อนภูมิพล กลุ่มป่าเวียงโกศัย – แม่วะ – ป่าแม่มอก กลุ่มป่าห้วยขาแข้ง – แม่วงก์ กลุ่มป่ารอบเขื่อนศรีนครินทร์ กลุ่มป่าจังหวัดเลย และกลุ่มป่าจังหวัดชัยภูมิขณะที่การควบคุมการเข้าพื้นที่ป่า ต้องจำกัดการเข้าพื้นที่ในช่วงเวลาที่เหมาะสม เพื่อป้องกันการลักลอบเผาในพื้นที่ป่า พร้อมกับจัดตั้งจุดเฝ้าระวังไฟป่า จำนวน 1,313 จุดครอบคลุม 15 จังหวัด 69 อำเภอและ 241 ตำบล” ดร.เฉลิมชัย กล่าวถึงการรับมือกับสถานการณ์


นอกจากนี้ ทส.ยังมีการเพิ่มประสิทธิภาพการรับมือสถานการณ์ไฟป่า หมอกควันและฝุ่นละออง โดยการเพิ่มประสิทธิภาพให้แก่ผู้ปฎิบัติงานด้วยการจัดตั้งชุดเพิ่มประสิทธิภาพดับไฟป่า ในป่าอนุรักษ์จำนวน 116 ชุดๆ ละ 7 นายรวม 812 คนและในพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ 180 ชุดๆ ละ 15 คน รวม 2,700 คนเป็นระยะเวลา 4 เดือนและยังจัดตั้งศูนย์สั่งวการและติดตามสถานการณ์ไฟป่า หมอกควันและฝุ่นละอองและจัดตั้งศูนย์ปฎิบัติการเฝ้าระวัง ควบคุมไฟป่าและหมอกควันในพื้นที่ 14 กลุ่มป่า ขณะเดียวกันได้จัดให้มีการลาดตระเวนในพื้นที่เสี่ยงและเกิดไฟไหม้ซ้ำซากในพื้นที่ 14 กลุ่มป่าด้วย


ที่สำคัญยังมีการสนับสนุนกำลังพลของกองทัพภาคที่ 3 จำนวน 1,070 นายร่วมประจำจุดเฝ้าระวังและร่วมบูรณาการออกประชาสัมพันธ์แบบ “เคาะประตูบ้าน” โดยมีหมู่บ้านเป้าหมาย จำนวน 1,834 หมู่บ้าน และเพื่อให้การแก้ปัญหารวดเร็วยิ่งขึ้น จะมีการสำรวจและจัดทำลานเฮลิคอปเตอร์ในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าและเขตห้ามล่าสัตว์ป่าภายใต้ภารกิจการควบคุมไฟป่า โดยจัดทำลานเฮลิคอปเตอร์ จำนวน 76 จุดในพื้นที่เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่า 27 แห่งและเขตห้ามล่าสัตว์ป่า 7 แห่งที่มีความสำคัญ


“ทส.ยังมีการบูรณาการการปฎิบัติงานป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศร่วมกับกองทัพภาคที่ 3/ศูนย์ปฎิบัติการกองทัพภาคที่ 3/กองอำนวยการรักษาความมั่งคงภายในภาคที่ 3 เพื่อสนับสนุนการป้องกันและแก้ไขปัญหามลพิษทางอากาศในพื้นที่ 17 จังหวัดภาคเหนือ โดย ทส.ได้นำเทคโนโลยีมาใช้ในการติดตามสถานกาณณ์ไฟป่าทั้งอากาศยานไร้คนขับ(UAV) และระบบติดตามจุดความร้อน(Hotspot) ผ่านดาวเทียมพร้อมทั้งบูรณาการความร่วมมือกับทุกภาคส่วนในการป้องกันและแก้ไขปัญหาไฟป่าอย่างเป็นระบบ” ดร.เฉลิมชัย กล่าว


มาตรการทั้งหมดเพื่อลดจุดความร้อนให้ได้ร้อยละ 25 เมื่อเทียบกับจุดความร้อนในช่วงเวลาเดียวกันของปี 2567