สำนักข่าวซินหัวรายงานจากกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน เมื่อวันที่ 13 ก.พ. ว่า แผนริเริ่มดังกล่าว มุ่งสร้างพื้นที่อยู่อาศัยที่มีเสียงรบกวนลดลง เพื่อผู้อยู่อาศัยนอนหลับอย่างมีคุณภาพมากขึ้น ซึ่งเป็นการแก้ไขหนึ่งในข้อร้องเรียนเกี่ยวกับสภาพแวดล้อมที่พบบ่อยที่สุดในพื้นที่เมือง โดยกระทรวงนิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อมของจีน ขยายเครือข่ายเฝ้าติดตามเสียงรบกวนด้วยการติดตั้งสถานีเฝ้าติดตามอัตโนมัติ 4,005 แห่ง ในเมืองระดับแคว้นขึ้นไป 338 แห่ง ณ สิ้นปี 2567
ขณะเดียวกัน มีการจัดสถานประกอบการอุตสาหกรรม อยู่ภายใต้ระบบอนุญาตปล่อยเสียงรบกวนราว 177,000 แห่ง ซึ่งคาดว่าจะครอบคลุมทั้งหมดภายในสิ้นปี 2568
ทั้งนี้ ภูมิภาคระดับมณฑล 11 แห่งของจีน ได้กำหนดพื้นที่รวมกว่า 860 ตารางกิโลเมตร เป็นเขตอาคารอ่อนไหวต่อเสียงรบกวน เมื่อปี 2567
รายงานโดยกระทรวงนิเวศวิทยาและสิ่งแวดล้อมของจีน ระบุเสริมว่า ระดับเสียงรบกวนในพื้นที่เมืองพัฒนาดีขึ้นในช่วง 5 ปีที่ผ่านมา โดยอัตราการปฏิบัติตามมาตรฐานเสียงรบกวนตอนกลางวันและกลางคืน มีแนวโน้มเพิ่มขึ้นในเขตที่กำหนด.
ข้อมูล-ภาพ : XINHUA