สำนักข่าวเอเอฟพีรายงานจากกรุงปักกิ่ง ประเทศจีน เมื่อวันที่ 13 ก.พ. ว่าการวิเคราะห์วงแหวนของต้นจูนิเปอร์ฉีเหลียน ซึ่งตั้งอยู่บนที่ราบสูงทิเบต ช่วยให้มองเห็นภาพได้ว่า ความเครียดจากสภาพอากาศส่งผลต่อสังคม และการเปลี่ยนแปลงของอำนาจเมื่อหลายพันปีก่อน
รายงานที่ตีพิมพ์ในวารสารวิทยาศาสตร์ “เนเจอร์” ระบุว่า การเปลี่ยนแปลงของไอโซโทปในวงแหวนของต้นไม้ ซึ่งเป็นรูปแบบของธาตุเคมีที่มีคุณสมบัติเฉพาะ สามารถใช้เพื่อทำความเข้าใจการเปลี่ยนแปลงของปริมาณน้ำฝนในช่วงเวลาต่าง ๆ ได้ โดยนักวิจัยหลายคนจากสถาบันวิทยาศาสตร์ของจีน สามารถคำนวณสถิติสภาพอากาศตลอด 3,476 ปีที่ผ่านมาได้
Periods of lower rainfall coincided with some major political upheavals, the study found. Read more: https://t.co/zJCKvRqm8H#china #history #dynasty #tibet #scmpnews #scmp pic.twitter.com/8uGTQHuIZd
— South China Morning Post (@SCMPNews) February 11, 2025
รายงานระบุว่า การจำลองสภาพอากาศไฮโดรไคลเมท ซึ่งเกี่ยวข้องกับน้ำและความชื้น บ่งชี้ว่า “การผลัดเปลี่ยนแผ่นดิน” ของราชวงศ์จีนหลายราชวงศ์ สอดคล้องกับการเปลี่ยนแปลงสภาพภูมิอากาศ โดยแบ่งเป็น 3 ระยะที่แตกต่างกัน ของปริมาณน้ำฝนซึ่งลดลงในระยะยาว หลังจากช่วงที่มีความชื้นสูงเป็นเวลานาน
กล่าวคือ สภาพอากาศชื้นในช่วงแรก ๆ ของแต่ละราชวงศ์ มีความเกี่ยวข้องกับช่วงเวลาแห่งความเจริญรุ่งเรือง ขณะที่การเปลี่ยนแปลงไปสู่ความแห้งแล้งอย่างต่อเนื่องนั้น สอดคล้องกับช่วงที่ราชวงศ์เสื่อมถอย และล่มสลายในที่สุด.
เครดิตภาพ : AFP