เนื่องจากเคยชินกับการวาง “โน้ตบุ๊ก” หรือ “แล็ปท็อป” ไว้บนขาเพื่อทำงาน ทำให้ต้นขาของสาวจีนรายนี้ดูน่ากลัวมาก เสี่ยงต่อการเป็นมะเร็ง เพราะฉะนั้น ควรวางไว้บนโต๊ะดีที่สุด

นิสัยที่ดูเหมือนไม่เป็นอันตรายในชีวิตประจำวัน อาจก่อให้เกิดอันตรายต่อร่างกายอย่างไม่คาดคิด สาวจีนรายหนึ่งเป็นผื่นร้อนที่ต้นขา จากการวางโน้ตบุ๊กทำงานบนตัก

นายแพทย์หลัวหงปิน รองหัวหน้าแผนกผิวหนังและความงาม โรงพยาบาลแพทย์แผนจีน มณฑลเจ้อเจียง ประเทศจีน เปิดเผยถึงเคสของหญิงสาววัย 20 ปี คนหนึ่งที่เข้ามาพบแพทย์ หลังจากต้นขาของเธอเป็นสีม่วงแดงน่ากลัว

หลังจากการตรวจ แพทย์พบว่านี่คืออาการที่เรียกว่า Erythema Ab Igne (EAI)

“หลังจากตรวจดูแล้ว พบว่าเด็กสาวมีนิสัยชอบวางคอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กไว้บนตักขณะทำงานเป็นเวลาหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา การสัมผัสกับอุณหภูมิต่ำเป็นเวลานาน ถึงแม้จะไม่ทำให้ผิวหนังไหม้ แต่จะทำให้เกิดการสร้างเม็ดสีแบบเรติคูลัม และหลอดเลือดขยายในบริเวณที่สัมผัสกับอุปกรณ์ให้ความร้อน”

เมื่อร่างกายของเราต้องเผชิญหน้ากับอุณหภูมิที่สูงประมาณ 37 องศาฯขึ้นไป ปกติจะอยู่ที่ประมาณ 43-47 องศาฯ เมื่ออุณหภูมิไม่สูงพอที่จะทำให้เกิดอาการไหม้ หรือรู้สึกแสบร้อนอย่างชัดเจน ผู้คนจึงมักไม่ใส่ใจ เมื่อผ่านไปนาน ๆ EAI ก็อาจจะปรากฏขึ้น

ไม่เพียงแต่คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กเท่านั้น เมื่อผิวหนังสัมผัสกับแหล่งอุณหภูมิต่ำที่ไม่เพียงพอที่จะทำให้เกิดการไหม้ เช่น ถุงร้อน เครื่องทำความร้อน แผ่นให้ความร้อน ก็อาจทำให้เกิดภาวะนี้ได้เช่นกัน แม้ว่าความเจ็บปวดจะไม่ชัดเจนมากนัก แต่ก็สามารถส่งผลต่อลักษณะที่ปรากฏได้อย่างมาก และวิธีการรักษาก็ค่อนข้างซับซ้อน

เนื่องจากหญิงสาวชาวจีนมาพบแพทย์ได้ทันเวลา จึงได้รับคำแนะนำให้เลิกนิสัยวางโน้ตบุ๊กบนตัก และทาครีมที่มีฤทธิ์ฟื้นฟูและปกป้องผิว เช่น มิวโคโพลีแซ็กคาไรด์ โพลีซัลเฟต ครีมวิตามินอี ฯลฯ ผื่นแดงที่ต้นขาจึงหายไป ผิวหนังกลับมาเป็นเหมือนเดิมได้

อย่างไรก็ตาม บางครั้งรอยของโรคเหล่านี้ อาจทิ้งรอยแผลถาวรที่รักษาไม่หายได้ และหากไม่ได้รับการรักษาทันท่วงที อาจพัฒนากลายเป็นโรคร้ายแรง เช่น โรคมะเร็งผิวหนัง ดังนั้นผู้ป่วยจึงควรปฏิบัติตามคำแนะนำในการรักษาอย่างเคร่งครัด และติดตามอาการอย่างสม่ำเสมอ

วิธีป้องกันไม่ให้ร่างกายเกิดผื่นร้อน?

คุณหมอหลัวเตือนว่า ผิวของเราบอบบางกว่าที่คิด ดังนั้นนอกเหนือจากการเลิกนิสัยวางแล็ปท็อปบนตักเป็นเวลานานแล้ว เราควรใส่ใจประเด็นต่อไปนี้ด้วย

  • เมื่อใช้เครื่องทำน้ำอุ่น อุณหภูมิของน้ำไม่ควรสูงเกินไป
  • ไม่ว่าจะใช้วิธีทำความร้อนแบบใด ควรใส่ใจกับการเปลี่ยนแปลงของผิวหนัง หากเกิดอาการแดง บวม เจ็บปวด หรือมีสีผิดปกติ ให้หยุดใช้อุปกรณ์ที่เกี่ยวข้อง และไปพบแพทย์ทันที
  • ผู้ป่วยโรคเบาหวาน ความผิดปกติของการไหลเวียนโลหิต โรคอ้วน ผู้สูงอายุ ผู้ป่วยที่นอนนาน ผู้ป่วยไทรอยด์ต่ำ ทารก และผู้ที่มีความไวต่ออุณหภูมิค่อนข้างช้า ผิวหนังบาง มีแนวโน้มเกิดรอยแดงและระคายเคือง ควรได้รับการดูแลเป็นพิเศษ.

ที่มาและภาพ : 163.com, soha