เมื่อวันที่ 29 ม.ค.เว็บไซต์ต่างประเทศ รายงานว่า บริษัทผู้ผลิตที่นอนและเครื่องนอน ได้ทำการวิจัยเกี่ยวกับการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียบนเครื่องนอนที่ไม่ได้ซัก ซึ่งผลการวิจัยพบว่า หลังจากผ่านไปเพียง 1 สัปดาห์ ปลอกหมอนและผ้าปูที่นอนจะมีแบคทีเรียสะสมอยู่ระหว่าง 3-5 ล้าน CFU (หน่วยนับจำนวนแบคทีเรีย) ต่อตารางนิ้ว และผ้าปูที่นอนมีอาการแย่ลงไปอีกหลังผ่านไปหนึ่งสัปดาห์ โดยสะสมแบคทีเรียเกือบ 25,000 เท่าที่พบในลูกบิดประตูห้องน้ำโดยเฉลี่ย
การศึกษาพบว่าแบคทีเรียเหล่านี้รวมถึงชนิดที่ทำให้เกิดการติดเชื้อ เช่น โรคปอดบวม เช่นเดียวกับแบคทีเรียแกรมลบ ซึ่ง “เป็นอันตรายและอาจนำไปสู่การดื้อยาปฏิชีวนะ ตามข้อมูลของ CDC”
หากนำไปเปรียบเทียบกับจำนวนของแบคทีเรียที่อยู่ตามสิ่งของเครื่องใช้ต่าง ๆ จะทำให้ได้ทราบข้อมูลที่ทั้งชวนอึ้งและชวนอี๋ว่า ปลอกหมอนที่ไม่ได้ซักเพียง 1 สัปดาห์ มีจำนวนแบคทีเรียมากกว่าฝารองนั่งชักโครกถึง 17,000 เท่า และที่แย่ไปอีกนั่นก็คือผ้าปูที่นอน หลังผ่านไปหนึ่งสัปดาห์ โดยสะสมแบคทีเรียเกือบ 25,000 เท่าที่พบในลูกบิดประตูห้องน้ำโดยเฉลี่ย
และจากการศึกษาพบว่าแบคทีเรียเหล่านี้รวมถึงชนิดที่ทำให้เกิดการติดเชื้อ เช่น โรคปอดบวม เช่นเดียวกับแบคทีเรียแกรมลบ ซึ่ง “เป็นอันตรายและอาจนำไปสู่การดื้อยาปฏิชีวนะ ตามข้อมูลของ CDC”นอกจากนี้ยังพบ Bacilli ซึ่งเป็นแบคทีเรียชนิดหนึ่งที่มักทำให้เกิดอาหารเป็นพิษบนผ้าปูที่นอนด้วย
แม้ว่าคำแนะนำส่วนใหญ่แนะนำว่าการซักผ้าปูที่นอนสัปดาห์ละครั้งก็เพียงพอแล้ว แต่ Mary Gagliardi นักวิทยาศาสตร์และผู้เชี่ยวชาญด้านการทำความสะอาดประจำบริษัท Clorox บอกกับ Martha Stewart ว่าการซักผ้าปูที่นอนสัปดาห์ละครั้งก็เพียงพอแล้ว
“บางคนอาจต้องการซักปลอกหมอนที่พวกเขานอนบ่อยขึ้น หากพวกเขามีเหงื่อออกขณะนอนหลับ มีผมหรือผิวหนังมัน หรือเข้านอนโดยที่แต่งหน้า” เธอกล่าว “แปดชั่วโมงคูณเจ็ดวันเท่ากับการใช้งาน 56 ชั่วโมง แม้ว่าคุณจะไม่มีเหงื่อออกหรือมีผมมัน แต่ก็เพียงพอที่ซักมัน
อย่างไรก็ตามเมื่อรู้อย่างนี้แล้ว หลายคนเกิดคำถามว่า ควรทำอย่างไรเพื่อให้ปลอกหมอน ยังคงสะอาดกว่าฝารองนั่งชักโครก
ซึ่งทางเว็บไซต์ Amerisleep ก็ได้ให้คำตอบไว้ว่า แม้การซักปลอกหมอนเป็นประจำจะเป็นส่วนสำคัญในการจำกัดการเติบโตของแบคทีเรีย แต่ถึงจุดหนึ่ง การเปลี่ยนหมอนใหม่ทุก ๆ 1 – 2 ปี ก็เป็นทางเลือกที่ดีที่สุด เพราะแบคทีเรียไม่ใช่สิ่งไม่พึงประสงค์เดียวที่สะสมอยู่ในหมอน
เนื่องจากบรรดาเหงื่อ เส้นผม น้ำลาย น้ำมันในร่างกาย และเซลล์ผิวที่ตายแล้ว ทั้งหมดจะถูกสะสมอยู่บนหมอน ถึงจะมีปลอกหมอน แต่มันก็อาจไม่สามารถป้องกันได้เพียงพอ ของเหลวและเศษเล็กเศษน้อยเหล่านี้อาจทำให้เกิดเชื้อรา และสปอร์ของเชื้อรา รวมถึงสารก่อภูมิแพ้อื่น ๆ ก็จะสะสมและเจริญเติบโต จนทำให้เกิดกลิ่นเหม็น การซักหมอนและปลอกหมอนอาจช่วยกำจัดกลิ่นได้ก็จริง แต่ไม่สามารถกำจัดสารก่อภูมิแพ้ได้ทั้งหมดอยู่ดี
อ้างอิง people.com