โดย ครม. ยังได้นำเสนอแผนการจัดการฝุ่น PM 2.5 จาก กระทรวงมหาดไทย สั่งการให้ผู้ว่าราชการ
ทุกจังหวัดทั่วประเทศ ออกประกาศห้ามเผา และให้บริหารจัดการซังข้าวโพด ต้นอ้อยแห้ง โดยใช้การฝังกลบแทนการเผา เพื่อทำปุ๋ยอินทรีย์และการใช้เครื่องแพ็กฟาง รวมถึงร่วมมือกับหน่วยงานความมั่นคง กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม กระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ในการเตรียมรับมือกับการดับไฟป่า

กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ ได้ดูแลกลุ่มเปราะบาง โดยให้หน้ากาก N95 และห้องเคลียร์รูม เพื่อให้กลุ่มเปราะบาง ทั้งคนที่ไม่สบาย และเด็กเล็กเข้ามาอยู่ในห้องนี้
กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ให้ปฏิบัติการเชิงรุกในพื้นที่เชียงใหม่ โดยใช้งบกลางที่ ครม. อนุมัติ ในการจัดจ้างบุคลากรเข้ามาดูแลไฟป่ากระทรวงเกษตรและสหกรณ์ ไม่ให้เผาทุกพื้นที่ในพื้นที่การเกษตร หากพบเจอจะตัดสิทธิการรับเงินเยียวยาจากรัฐบาล ตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายนปีนี้ถึง 31 พฤษภาคม 2569 รวมถึงมีการใช้ปฏิบัติการฝนหลวงในการลดฝุ่น
กระทรวงคมนาคม มีมาตรการขึ้นรถไฟฟ้า รถเมล์ฟรี ที่ผ่านมามีผู้ใช้บริการสาธารณะเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนมาก และสำรวจแล้วว่า การใช้รถบนท้องถนนลดลง 500,000 คันต่อวัน ซึ่งในกรุงเทพมหานครรถติดน้อยลงเป็นเพราะมาตรการนี้

กระทรวงอุตสาหกรรม ขอความร่วมมือโรงงาน และสมาคมชาวไร่อ้อย ที่ไม่ให้รับอ้อยที่มาจากการเผาเกิน 25% ต่อวัน ซึ่งกระทรวงอุตสาหกรรมได้เน้นยํ้ามากในเรื่องนี้ และได้ผลเป็นอย่างดี ซึ่งสถิติลดเหลือตํ่ามากเหลือ 10% ต่อวัน
กระทรวงการต่างประเทศ ร่วมมือกับอาเซียน ซึ่งได้รับความร่วมมือจาก สปป.ลาว กัมพูชา เมียนมา และมีกรอบความร่วมมือด้านนโยบายให้เกิดความชัดเจนกับประเทศภูมิภาคเอเชีย และประเทศลุ่มแม่นํ้าโขง ที่จะให้ความร่วมมือกับเทคนิค และความรู้ของแต่ละประเทศจะสามารถสนับสนุนซึ่งกันและกันได้อย่างไรบ้าง
ขณะที่ “ดร.สนธิ คชวัฒน์” นักวิชาการด้านสิ่งแวดล้อมและสุขภาพ ชมรมนักวิชาการสิ่งแวดล้อม ให้ข้อมูลการแก้ปัญหาฝุ่น PM 2.5 มีแผนแม่บทที่แก้ปัญหาฝุ่นในระยาวอยู่แล้ว ผ่านเฟซบุ๊ก Sonthi Kotchawat โดยมองว่า การแก้ไขปัญหาฝุ่น PM2.5 ของไทย มี Master plan พร้อม แต่ Action ไม่มี ทำให้เกิดความล้มเหลวในการแก้ไขปัญหาฝุ่น PM 2.5 โดยแผนปฏิบัติการขับเคลื่อนวาระแห่งชาติแก้ไขปัญหาฝุ่นละออง PM 2.5 ช่วง พ.ศ. 2562-2567 ที่เกิดจากการระดมความเห็นจากทุกภาคส่วนทั้งภาคประชาสังคม ภาครัฐ และนักการเมืองนำมาสู่การกำหนดเป็นวาระแห่งชาติ ดำเนินการได้ครบถ้วนหรือยัง? ทำไมฝุ่นสูงกว่าทุกปี

1. กำหนดในการจัดการฝุ่น PM2.5 เป็น 4 ระดับ คือ
ระดับที่ 1 หากฝุ่น PM 2.5 ไม่เกินมาตรฐานให้ทุกหน่วยงานจัดการตามอำนาจหน้าที่และกฎหมายที่มีอยู่ให้ครบถ้วน
ระดับที่ 2 หากฝุ่น PM2.5 เกินค่ามาตรฐานให้ผู้ว่าราชการจังหวัดเป็นผู้บัญชาการเหตุการณ์ในพื้นที่รับผิดชอบและให้หน่วยงานราชการต่าง ๆ สนับสนุน
ระดับที่ 3 หากฝุ่น PM 2.5 เกิน 75 มคก. ต่อ ลบ.ม. ให้ผู้ว่าราชการจังหวัดและผู้ว่าฯ กทม. ใช้กฎหมายตาม พ.ร.บ.การสาธารณสุข 2535 และ พ.ร.บ.ป้องกันและบรรเทาสาธารณภัยแห่งชาติ 2550 ประกาศพื้นที่ควบคุมเพื่อเข้าไปควบคุมมลพิษในพื้นที่และแหล่งกำเนิด
ระดับที่ 4 หากฝุ่น PM2.5 ยังไม่ลดและมีแนวโน้มจะสูงขึ้นให้คณะกรรมการสิ่งแวดล้อมแห่งชาติ หาแนวทางแก้ไขปัญหาโดยเร็ว

2. มาตรการป้องกันและลดฝุ่น PM 2.5 ที่ต้นทาง หน่วยงานที่เกี่ยวข้องต้องทำทุกประเด็นให้แล้วเสร็จในปี 2567
ให้ใช้นํ้ามันกำมะถันไม่เกิน 10 ppm ตั้งแต่ 1 มกราคม 2567
ต้องไม่มีการเผาไร่อ้อยร้อยละ 100 ภายใน พ.ศ 2565
จุดความร้อนในพื้นที่ป่า, พื้นที่เกษตรกรรมและพื้นที่ริมทางจะต้องลดลงทุกปี
ห้ามนำเข้าเครื่องยนต์ใช้แล้วทุกประเภท
ปรับลดอายุรถยนต์ที่จะต้องเข้ารับการตรวจสภาพประจำปี
ซื้อทดแทนรถราชการเก่าทุกคันด้วยรถยนต์ไฟฟ้า

กำหนดมาตรการจูงใจให้ใช้รถไฟฟ้า
บังคับใช้มาตรฐานการระบายมลพิษทางอากาศจากรถยนต์ใหม่ เป็นยูโร 5 ภายในปี 2564 และยูโร 6 ภายในปี 2565
เปลี่ยนรถโดยสารประจำทางของขสมก.ทั้งหมดให้เป็นรถมลพิษตํ่า (EV/NGV/มาตรฐานยูโร 5)
ย้ายท่าเรือคลองเตยออกจากพื้นที่กรุงเทพฯ
ให้ปลูกพืชหรือไม้ยืนต้นทดแทนพืชเชิงเดี่ยวพื้นที่ที่ทำเกษตรในพื้นที่ภูเขา
กำหนดมาตรฐานการระบายมลพิษทางอากาศจากปล่องโรงงานในรูปของ Emission Loading
ติดตั้งระบบตรวจรวัดมลพิษอากาศจากปล่องโรงงานอัตโนมัติ (CEMs)ในกทม. ทั้งหมด
จัดทำทำเนียบการปลดปล่อยและเคลื่อนย้ายมลพิษจากทุกแหล่งกำเนิด 2.15 ดำเนินการติดตั้งอุปกรณ์กรองฝุ่นรถดีเซลในรถใช้งานทั้งหมด

3. ในช่วงภาวะวิกฤติที่ฝุ่น PM2.5 มีค่าเกิน 75 มคก. ต่อ ลบ.ม. หรือเป็นสีแดง หรือระดับที่ 3 และผู้ว่าราชการจังหวัดเป็น
ผู้บัญชาการเหตุการณ์ ควรดำเนินการดังนี้..
บังคับใช้กฎหมายเพื่อลดควันดำจากรถยนต์และเรือได้ทั้งหมด
ขยายพื้นที่ในการจำกัดเวลารถบรรทุกในพื้นที่กทม. จากวงแหวนรัชดาภิเษกไปเป็นวงแหวนกาญจนาภิเษก
ห้ามจอดรถบนถนนสายหลักและสายรองตลอด 24 ชั่วโมง
คืนพื้นที่ผิวจราจรจากโครงการก่อ สร้างขนาดใหญ่ทั้งก่อสร้างรถไฟฟ้าและการก่อสร้างถนนและทางด่วน
ห้ามเผาในที่โล่ง และเผาขยะอย่างเด็ดขาดในพื้นที่กทม.และอื่น ๆ
ควบคุมคนจากฝุ่นจากโครงการก่อสร้างทั้งหมด
เข้มงวดตรวจสอบฝุ่นควันจากเตาเผาศพและเตาเผาขยะให้เป็นไปตามมาตรฐาน
บังคับใช้กฎหมายกับโรงงานอุตสาหกรรมที่มีหม้อไอนํ้าหรือแหล่งกำเนิดความร้อนในเขตกทม. และปริมณฑลอย่างเข้มงวด
ขอความร่วมมือโรงงานอุตสาหกรรมหยุดหรือลดกำลังการผลิต.