“รศ. นพ.พูลเกียรติ สุชนวณิช” สาขาวิชาโรคผิวหนัง ภาควิชาอายุรศาสตร์ คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ให้ข้อมูลเกี่ยวกับเรื่อง “ผมหงอก” ว่า  เป็นสิ่งที่หลายคนมักกังวล ไม่ว่าจะเป็นเพราะอายุที่เพิ่มขึ้นหรือผมหงอกก่อนวัยที่มาเยือนแบบไม่ทันตั้งตัว แต่เคยสงสัยไหมว่า ผมหงอกเกิดจากอะไร และที่เคยได้ยินว่าการถอนผมหงอกจะทำให้หงอกเพิ่มขึ้นนั้นจริงหรือไม่? บทความนี้จะพาคุณไปทำความเข้าใจเกี่ยวกับสาเหตุของผมหงอก รวมถึงตอบคำถามสำคัญว่า ยิ่งถอนยิ่งหงอกจริงหรือไม่

ผมหงอก คือ

โดยทั่วไปผม 1 เส้นของเราประกอบไปด้วยเซลล์สร้างเนื้อผมซึ่งเป็นโปรตีน และเซลล์สร้างเม็ดสีที่คอยทำหน้าที่ป้อนเม็ดสีเข้าไปในเส้นผม จึงทำให้เสร็จผมเรามีสีต่าง ๆ ตามพันธุกรรม ถ้าคนไหนมีเม็ดสีมาก และเข้มข้นผมก็จะสีเข้ม ส่วนคนที่มีเม็ดสีน้อยผมก็จะสีอ่อนลง ซึ่งผมหงอกเกิดจากเส้นผมที่เซลล์เม็ดสีไม่สามารถสร้างเม็ดสีออกมาได้ตามปกติ จึงทำให้มีแต่เส้นผมที่เจริญออกมา แต่สีผมไม่ออกมาด้วย เราจึงพบเห็นเส้นผมสีเทา หรือสีขาวซึ่งเรียกกันว่าผมหงอกนั่นเอง กรณีที่มีผมหงอกขาวสนิทนั่นหมายความว่า เซลล์สร้างเม็ดสีได้หยุดทำงานแล้วนั่นเอง

ผมหงอก เกิดจากหลายปัจจัย ทั้งจากธรรมชาติและปัจจัยภายนอกที่ส่งผลให้ร่างกายผลิตเม็ดสีเมลานินลดลง ซึ่งเมลานินเป็นสารสำคัญที่ทำให้เส้นผมมีสีเข้ม ดังนั้น เมื่อเมลานินลดลง เส้นผมจึงเปลี่ยนเป็นสีขาวหรือเทาได้ โดยปัจจัยหลักที่ทำให้เกิดผมหงอก ได้แก่:

ผมหงอกตามธรรมชาติ

ผมหงอกตามธรรมชาติเกิดจากเมื่อเราอายุมากขึ้น การทำงานของเซลล์สร้างเม็ดสีก็จะทำงานได้ลดลง ทำให้ผมที่ออกมาใหม่เป็นผมหงอก โดยปกติผมจะเริ่มหงอกโดยธรรมชาติเมื่ออายุ 40 ปี ขึ้นไป

ผมหงอกก่อนวัย

ผมหงอกก่อนวัยเกิดจากคนที่มีอายุน้อย โดยมีปัจจัยดังนี้

  1. พันธุกรรม เป็นปัจจัยที่พบได้มากที่สุด
  2. ความเครียด มีส่วนสำคัญที่ทำให้เกิดผมหงอกได้เร็วขึ้น
  3. คนที่ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ และสูบบุหรี่ มีแนวโน้มที่จะเกิดผมขาวเร็วกว่าคนปกติถึง 4 เท่า
  4. จากโรคบางโรค ได้ เช่น ผมร่วงเป็นหย่อม หรือโรคด่างขาว โรคที่มีความเกี่ยวข้อง กับระบบภูมิคุ้มกันต่อร่างกาย
Elder man holding his gray hair
โรคที่ทำให้เกิดผมหงอก ได้แก่

โรคเบาหวาน โรคโลหิตจาง โรคไทรอยด์ โรคด่างขาว รวมทั้งการบาดเจ็บและโรคของระบบประสาท ผมร่วงเป็นหย่อม การล้มป่วยบางอย่าง เช่น โรคมาลาเรีย และโรคไข้หวัดใหญ่

ช่วงอายุที่เริ่มมีผมหงอกขึ้นอยู่กับพันธุกรรม
  • ชาวต่างชาติที่มีผิวขาว ผมจะเริ่มหงอกครั้งแรก ตั้งแต่อายุ 24-44 ปี
  • คนผิวสี จะเริ่มมีหงอก เมื่ออายุ 34-54 ปี
  • ชาวเอเชียจะเริ่มมีผมหงอก ตั้งแต่อายุ 30-40 ปี
ผมหงอก ยิ่งถอนยิ่งหงอกจริงหรือไม่

ส่วนประเด็นที่ว่ายิ่งถอนผมหงอก ผมหงอกก็จะยิ่งขึ้นนั้น อธิบายได้ว่า “ไม่เป็นความจริง” เพราะการขาดสารอาหารบางตัว เช่น วิตามินบี 12 อาจทำให้มีผมหงอกได้ ในบางกรณีความเครียดอาจทำให้ผมหงอกได้เช่นกัน ซึ่งบางคนเชื่อว่า ความเครียดทำให้ร่างกายขาดวิตามินบี ถ้ากินวิตามินบีขนาดสูง อาจทำให้ผมหงอกกลับดำได้ การกินยาบางตัว เช่น คลอโรควิน อาจทำให้คนที่มีผมสีอ่อนหรือผมน้ำตาลแดงกลายเป็นสีขาวได้ด้วยเช่นกัน ทั้งนี้ผมหงอก ไม่สามารถรักษาได้ ทำได้เพียงเล็มออกหรือย้อมสีผมเพื่อปกปิดผมหงอกเท่านั้น

ผมหงอกเกิดจากหลายปัจจัย ทั้งตามธรรมชาติ กรรมพันธุ์ โรค และการขาดสารอาหาร การถอนผมหงอกไม่ได้ทำให้ผมหงอกเพิ่มขึ้น แต่อาจทำให้หนังศีรษะอักเสบได้ 

วิธีแก้ผมหงอกถาวร คือการดูแลสุขภาพให้สมดุล ลดความเครียด และรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ เช่น วิตามินบี12 เพื่อป้องกันไม่ให้ผมหงอกก่อนวัย หากมีผมหงอกมากจนสร้างความกังวล ควรปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญ เพื่อหาวิธีจัดการอย่างเหมาะสม

สามารถดูวิดีโอเพิ่มเติมเกี่ยวกับ เรื่องผมหงอกได้ที่นี่