เพื่อป้องกันไม่ให้กระเพาะอาหารของเราเสียหาย จนอาจทำให้เป็นอันตรายต่อสุขภาพร้ายแรงได้ เราจึงควรลด ละ เลิก 7 นิสัยที่ไม่ดีต่อกระเพาะอาหารดังต่อไปนี้
- กินมากเกินไป
เมื่อเจออาหารอร่อย ทำให้เรากินจนหยุดไม่ได้ ส่งผลให้ลำไส้และกระเพาะอาหารรับศึกหนักเกินไป ก็จะทำให้อาหารไม่ย่อย ท้องอืด ปวดท้องได้ง่าย ในกรณีที่รุนแรงอาจทำให้กระเพาะอาหารขยายเฉียบพลัน ส่งผลให้ตับอ่อนอักเสบเฉียบพลันได้
- กินเร็วเกินไป
ด้วยความเร่งรีบและความวุ่นวายของชีวิต ทุกคนมักกินอาหารอย่างรวดเร็ว แต่หากกินเร็วเกินไป เคี้ยวอาหารไม่ละเอียด อาจทำให้เป็นโรคระบบทางเดินอาหารได้ เช่น แผลในกระเพาะอาหาร โรคกระเพาะ หรือแม้แต่ “นิ่ว” ในกระเพาะ
- กินอาหารที่มีไฟเบอร์ไม่เพียงพอ
บางคนไม่ชอบกินผักและธัญพืช ทำให้ได้รับปริมาณไฟเบอร์ไม่เพียงพอ การเคลื่อนไหวของลำไส้จึงช้า ของเสียไม่สามารถขับออกได้ นำไปสู่อาการท้องผูก และโรคลำไส้
- ความเครียดและความวิตกกังวล
เมื่อคุณเครียดหรือวิตกกังวล ท้องก็จะไม่สบายไปด้วย เบื่ออาหาร ปวดท้อง กรดไหลย้อน และมีความรู้สึกไม่พึงประสงค์อื่นๆ เกิดขึ้นตามมา
- ขาดการออกกำลังกาย
คนที่ไม่ชอบออกกำลังกาย การเคลื่อนไหวของลำไส้จะช้าลง ระบบย่อยอาหารไม่ดี อาหารจะไม่ถูกขับออกมา ทำให้เกิดอาการท้องอืดและท้องผูก
การขาดการออกกำลังกายเป็นเวลานาน อาจทำให้เบื่ออาหาร การเคลื่อนไหวของกระเพาะอาหารไม่เพียงพอ ทำให้เกิดการอักเสบ เป็นเนื้องอกในกระเพาะอาหารและลำไส้ใหญ่ได้
- ใช้ยาติดต่อกันมากเกินไป
บางคนใช้ยาติดต่อกันนานเกินไปเมื่อเจ็บป่วย เช่น ยาแก้ปวด ยาแก้อักเสบ ซึ่งยาหลายชนิดเป็นอันตรายต่อกระเพาะอาหาร
หากกินยามากเกินไป เยื่อบุกระเพาะอาหารจะ “เป็นรอย” ทำให้เกิดการอักเสบและเป็นแผลได้ง่าย
- ดื่มแอลกอฮอล์มากเกินไป และชอบอาหารรสเผ็ด
แอลกอฮอล์ จะส่งผลโดยตรงต่อเยื่อบุกระเพาะอาหาร หากดื่มมากเกินไป อาจทำให้เกิดโรคร้ายแรง เช่น โรคกระเพาะอาหาร และมีแผลในกระเพาะอาหารได้ง่าย
ส่วนการบริโภคอาหารรสเผ็ด อาจทำให้เยื่อบุกระเพาะอาหารระคายเคืองได้ง่าย ทำให้เกิดอาการแสบร้อน ปวดท้อง และอาการไม่พึงประสงค์อื่นๆ นิสัยการกินที่ไม่ดีนี้จะเพิ่มความเสี่ยงของโรคกระเพาะ ทำลายการทำงานของเยื่อเมือกในกระเพาะอาหาร.
ที่มาและภาพ: Aboluowang, soha