จากงานวิจัย ขององค์กรยูนิเซฟ และยูเนสโก ที่ได้ทำในหลายประเทศในอาเซียน ชี้ว่า เยาวชนที่รักชาติและสนใจปัญหาสังคมรอบ ๆ ตัว จะพัฒนาประเทศของเขาอย่างก้าวกระโดด เช่น เยาวชนในประเทศเวียดนามจะมีคะแนนในเรื่องนี้สูงกว่าประเทศเพื่อนบ้าน และ การพัฒนา Soft Power Education ที่ส่งเสริมการเรียนศิลป+วัฒนธรรมท้องถิ่น สังคม จิตอาสา ซึ่งเป็นพื้นฐานของการเป็นมนุษย์ และการพัฒนาที่ยั่งยืน สำคัญไม่แพ้การเรียนรู้ STEM

แล้วมีการเรียนรู้อะไรที่ต่อยอด STEM สู่การสร้างมนุษย์ที่สมบูรณ์ในศตวรรษที่ 21

ผมได้ยินเรื่องการเรียนรู้ STAR STEMS เมื่อราว 7-8 ปีที่แล้ว โดยท่านอาจารย์ พลเอก ดร.พหล สง่าเนตร กรรมการสภาการศึกษา และคณะ พยายามผลักดันการเรียนระบบนี้ให้เข้าสู่การศึกษากระแสหลัก ที่ผ่านมาได้ทำการทดลองในโรงเรียนต้นแบบในโครงการทั่วประเทศ แถมยังขยายไปสู่ชมชน และในสถานประกอบการอีกด้วย

วันนี้ได้ฟังตัวอย่างดี ๆ จากโรงเรียนต้นแบบ เช่น โรงเรียนราชประชานุเคราะห์ 60 จังหวัดเชียงใหม่ โรงเรียน มอ.วิทยานุสรณ์ จังหวัดสงขลา ที่ได้พัฒนา STAR STEMS เป็นหลักสูตรของโรงเรียนแล้ว มีการเรียนการสอนที่พิสูจน์แล้วว่าสร้างคนเก่งและดี มีวินัย ภูมิใจในชาติ ตอนนี้ มีโรงเรียนต่าง ๆ ติดต่อมาขอเรียนรู้ดูงานเพื่อขยายผล นอกจากนั้นยังมีพี่ ๆ ที่ทำงานด้าน CSR และความยั่งยืนมาตอกยํ้าอีกว่า STAR STEMS เป็นการเรียนรู้ตลอดชีวิต นำไปสร้างคนในโรงงานอุตสาหกรรม และสถานประกอบการได้ จากการเข้าโครงการ STAR STEMS นี้ทำให้บริษัทพัฒนาบุคลากร ได้ทำงานช่วยเหลือชุมชน จนได้รางวัลประจำปีเพิ่มขึ้นอีกหลายรางวัล

สนใจเรียนรู้เรื่อง STAR STEMS สร้างพลเมืองดี มีวินัยเด่น เน้นพอเพียง จิตอาสา เพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน SDG 17 ข้อ ติดต่อได้ที่ มูลนิธิสตาร์สะเตมส์เพื่อสังคมสันติสุขยั่งยืน ได้นะครับ.