แต่ชุดความคิดของผู้บริหารหน่วยงานของรัฐ กับนักธุรกิจ ผู้ประกอบการ ในเรื่องประสิทธิภาพต่างกันมาก ในขณะที่ภาคธุรกิจพยายามลดคนงาน ลดขั้นตอนที่ไม่จำเป็น ลดเวลา ลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ ๆ เพื่อลดค่าใช้จ่าย และเพิ่มประสิทธิภาพให้ได้ตามเป้าหมาย พยายามลีนองค์กรให้เล็ก แต่แข็งแกร่งที่สุด ต่างกับหน่วยงานของรัฐที่ชอบสร้างอาณาจักรใหญ่ใช้คนเยอะ แถมมีข้ออ้างเรื่องกฎระเบียบราชการ และระบบงบประมาณที่อนุมัติไว้ล่วงหน้า ต้องใช้ให้หมด แม้โจทย์และเป้าหมายจะเปลี่ยนไปแล้วก็ตาม มิฉะนั้นปีหน้าจะถูกตัดงบ เราจึงเห็นการติดต่องานราชการที่ล่าช้า ซํ้าซ้อน ขาดประสิทธิภาพ แทบไม่มี One Stop Service และยังไม่เห็นใครในรัฐบาล ลุกขึ้นมาแสดงความรับผิดชอบในเรื่องนี้
ดังนั้น การทาบทาม อีลอน มัสก์ ที่มีชุดความคิดของนักธุรกิจหัวก้าวหน้าสุดโต่ง มาเป็นผู้นำกระทรวงใหม่นี้ จึงเป็นความท้าทายครั้งใหญ่
คำว่า “ประสิทธิภาพ” ในหัวของนักธุรกิจอย่างมัสก์ จะเน้นการเปลี่ยนแปลงเพื่อความยั่งยืน ต้องบริหารจัดการทรัพยากรที่มีจำกัด ทั้งทรัพยากรมนุษย์ ทรัพยากรธรรมชาติ งบประมาณ และเวลาให้เกิดประโยชน์สูงสุด หานวัตกรรมใหม่ ๆ ที่มีเทคโนโลยีลํ้าสมัย เพื่อให้ได้ผลลัพธ์ตามเป้าหมาย และเราคงจะเห็นรัฐบาลอเมริกันมีการเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ มากมาย
ตอนหาเสียง อีลอน มัสก์ เคยบอกว่า งบประมาณของรัฐสามารถลดลงได้ราว 70 ล้านล้านบาท หรือเกือบ 1 ใน 3 และยังบอกว่า ถ้าสามารถลดหน่วยงานต่าง ๆ ที่ทำงานซํ้าซ้อนกัน จะสามารถลดจำนวนข้าราชการ และเจ้าหน้าที่รัฐได้จำนวนมาก ซึ่งจะลดภาระผูกพันด้านงบประมาณในระยะยาว โดย วิเวก รามาสวามี “ได้เสนอให้ยุบ หรือลดขนาดหน่วยงานของรัฐบาลกลางหลายแห่ง อาทิ กระทรวงศึกษาธิการ คณะกรรมการกำกับดูแลพลังงานนิวเคลียร์ กรมสรรพากร FBI และยังมีอีกหลายหน่วยงานอยู่ในบัญชีที่ต้องลดขนาด ยุบ และควบรวม
ในการเพิ่มประสิทธิภาพ รัฐบาลต้องลงทุนในเทคโนโลยีใหม่ ๆ ที่ยั่งยืน จะมีการใช้ AI เทคโนโลยีอวกาศ พลังงานสีเขียว ยานยนต์ไฟฟ้า การบริหารแบบบล็อกเชน และการเงินคริปโต ซึ่งนอกจากจะเพิ่มประสิทธิภาพการทำงานของรัฐบาลแล้ว ยังลดโอกาสที่จะเกิดทุจจริตคอร์รัปชัน แถมยังส่งเสริมให้การขับเคลื่อนความยั่งยืนตามเป้าหมาย SDG ได้ดีขึ้น
หลายคนอาจคิดว่า เรื่องเหล่านี้น่าจะมีความขัดแย้งทางผลประโยชน์ (Conflict of Interest) ดังนั้นจะต้องวางโครงสร้างการจัดการให้ดี มีธรรมาภิบาล โปร่งใส ตรวจสอบได้ เป็นประโยชน์ต่อสาธารณะ เราคงจะเห็นโมเดลใหม่ ๆ ใน SDG 16 ตามมาอีกหลายเรื่อง
นักวิชาการสายอนุรักษนิยมของสหรัฐอเมริกา วิจารณ์ว่าการลดค่าใช้จ่ายตามที่กล่าว และการยุบหน่วยงานรัฐ
ต่าง ๆ น่าจะเป็นไปได้ยาก และจะเกิดการต่อต้าน ปั่นป่วนมากทีเดียว คงจะมีปัญหากับสภาคองเกรส ความเห็นนี้น่าจะไป
ในทางเดียวกับเหล่าข้าราชการที่ไม่อยากเปลี่ยนแปลง
ส่วนนักธุรกิจ และประชาชนส่วนใหญ่เห็นด้วยกับแนวคิดนี้ เพราะภาคธุรกิจต้องปรับตัว ลดขนาด ลดความซํ้าซ้อน เพิ่มประสิทธิภาพ และความสามารถในการแข่งขันอยู่เสมอ บางทีแทบจะต้องปรับเปลี่ยนรายวัน เพื่อให้ทันโลก
ความคิดนี้คงถูกใจประชาชนส่วนใหญ่ อีลอน มัสก์ ยังยํ้าอีกว่า ก่อนอื่นเราต้องเข้าใจโลกที่เปลี่ยนแปลงรวดเร็ว และเราต้องปรับตัวให้ทันโลก ชาวอเมริกันต้องยอมรับความเสี่ยง และพร้อมเผชิญความยากลำบากชั่วคราวในระยะสั้น เพื่อประโยชน์ของประเทศชาติในระยะยาว แนวทางนี้ อีลอน มัสก์ ได้เคยทำมาแล้วตอนเข้าซื้อกิจการ Twitter แล้วมาเปลี่ยนเป็น X ลดจำนวนพนักงานลง 1 ใน 5 และสร้างความเปลี่ยนแปลงใหม่ ๆ ใน X มากมาย
สหรัฐอเมริกาปลุกกระแสเรื่องประสิทธิภาพของระบบราชการแล้ว ไม่นานคงจะมีผลกระทบต่อระบบราชการทั่วโลก รัฐบาลไทยจะขยับเรื่องนี้กันบ้างหรือยัง หรือจะอยู่ใน Comfort Zone แบบเดิม ๆ จนเกิดวิกฤติ.