คนส่วนใหญ่เชื่อว่า พวกเขาควรรับประทานอาหารอย่างสม่ำเสมอ วันละ 3 มื้อ เช้า กลางวัน และเย็น อย่างไรก็ตาม ในบริบทของชีวิตสมัยใหม่ที่เร่งรีบและวุ่นวาย หลายคนพบว่าเป็นเรื่องยากที่จะทานอาหารให้ครบ 3 มื้อและตรงเวลา บางคนจึงอาจข้ามมื้ออาหารบางมื้อไป โดยเฉพาะคนที่ต้องการลดน้ำหนัก บางคนเลือกที่จะไม่ทานมื้อเช้า และบางคนก็เลือกที่จะไม่ทานมื้อเย็น แต่จริง ๆ แล้ว เราควรงดมื้อไหน ถ้าต้องการลดน้ำหนัก

การงดอาหารเช้าเป็นเวลานานติดต่อกัน มีอันตรายต่อร่างกายอย่างไรบ้าง?

  1. โรคอ้วน: การงดอาหารเช้า อาจทำให้เราอยากอาหารเพิ่มขึ้น และบริโภคแคลอรีมากขึ้นในช่วงมื้อกลางวันและมื้อเย็น ซึ่งจะไปเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคอ้วน
  2. ปัญหาระบบทางเดินอาหาร: กรดในกระเพาะและเอนไซม์ย่อยอาหารต่างๆ อาจทำให้เยื่อบุกระเพาะอาหารระคายเคืองได้ง่าย เมื่อไม่มีอาหาร อาจทำให้เกิดแผลในกระเพาะอาหาร แผลในลำไส้เล็กส่วนต้น และโรคทางเดินอาหารอื่นๆ การไม่รับประทานอาหารเช้า ยังทำให้เกิดการหลั่งน้ำดีที่ผิดปกติ ซึ่งสะสมอยู่ในถุงน้ำดีเป็นเวลานาน และไม่ขับออกมา ทำให้เกิดนิ่วได้ง่าย
  1. เสี่ยงต่อภาวะไขมันพอกตับ: การงดอาหารเช้าเป็นเวลานาน อาจทำให้เกิดภาวะทุพโภชนาการได้ โดยเฉพาะการขาดโปรตีน ซึ่งอาจทำให้เกิดไขมันสะสมในตับได้ นอกจากนี้การงดอาหารเช้า จะทำให้ร่างกายบริโภคแคลอรีและไขมันมากขึ้นในมื้อกลางวัน เพิ่มภาระให้กับตับ เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคไขมันพอกตับ
  1. ภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ: หลังจากนอนหลับมาทั้งคืน สารอาหารในร่างกายจะหมดลง การงดอาหารเช้าอาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดต่ำ เวียนศีรษะ ใจสั่น แขนขาอ่อนแรง ขาดพลังงาน และอาการอื่นๆ
  2. ภาวะทุพโภชนาการ: การงดอาหารเช้าจะทำให้ร่างกายอยู่ในภาวะหิวโหยเป็นเวลานาน สารอาหารที่ไม่เพียงพออาจทำให้ร่างกายขาดสารอาหารได้ ในกรณีที่รุนแรงก็จะส่งผลต่อการเติบโตและการพัฒนาด้วย

การงดทานอาหารเย็นเป็นเวลานานติดต่อกัน มีอันตรายต่อร่างกายอย่างไรบ้าง?

  1. ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของโรคอ้วน: การงดอาหารเย็นอาจทำให้ระดับน้ำตาลในเลือดลดลง และร่างกายจะปล่อยอินซูลินเพื่อควบคุมระดับน้ำตาลในเลือด การงดอาหารเย็นเป็นเวลานาน อาจทำให้ร่างกายเกิดภาวะดื้อต่ออินซูลิน ส่งผลให้ระดับน้ำตาลในเลือดเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคอ้วน
  1. การหลั่งกรดในกระเพาะอาหารมากเกินไป: เมื่อคุณงดอาหารเย็น กรดในกระเพาะอาหารจะยังคงหลั่งออกมาตามปกติ แต่ไม่มีอาหารที่จะทำให้กรดในกระเพาะอาหารเป็นกลางได้ อาจทำให้เกิดโรคกระเพาะ แผลในกระเพาะอาหาร และโรคระบบทางเดินอาหารอื่นๆ
  2. ความเสี่ยงที่เพิ่มขึ้นของโรคนิ่ว: การงดอาหารเย็นอาจทำให้น้ำดีไม่ระบายตามปกติ จึงไปสะสมในถุงน้ำดีเป็นเวลานาน และมีความเข้มข้นมากขึ้น สิ่งนี้จะเพิ่มความเสี่ยงต่อโรคนิ่ว
  3. ความหิวส่งผลต่อการนอนหลับ: อาหารเย็นใกล้กับเวลานอน และการไม่ทานอาหารเย็นอาจทำให้หิวในเวลากลางคืน ทำให้นอนหลับยาก คุณภาพการนอนหลับลดลง
  4. การหลั่งเมลาโทนิน: ร่างกายจะหลั่งเมลาโทนินหลังอาหารเย็น ช่วยให้คุณหลับสบาย การงดอาหารเย็นเป็นเวลานานอาจรบกวนนาฬิกาชีวภาพ ส่งผลให้การหลั่งเมลาโทนินไม่เพียงพอ คุณภาพการนอนหลับก็จะไม่ดี
  5. สารอาหารไม่เพียงพอ: การงดมื้อเย็นเป็นเวลานาน จะทำให้ร่างกายไม่ได้รับสารอาหารที่เพียงพอ และขาดสารอาหาร

มื้อเช้าหรือมื้อเย็น มื้อไหนสำคัญกว่ากัน?

ทั้งมื้อเช้าและมื้อเย็นต่างก็มีความสำคัญที่แตกต่างกันออกไป

อาหารเช้ามุ่งเน้นไปที่การให้พลังงาน รักษาระดับน้ำตาลในเลือดให้คงที่ ส่งเสริมการย่อยอาหาร ในขณะเดียวกัน มื้อเย็นจะเน้นไปที่การเสริมสารอาหาร ช่วยให้เราผ่อนคลาย และหลีกเลี่ยงความหิวโหยในตอนกลางคืน

ดังนั้นจึงไม่สามารถพูดได้ว่า มื้อไหนสำคัญกว่ากัน แต่ควรเลือกรับประทานมื้อเช้าและมื้อเย็นให้เหมาะกับพฤติกรรมการใช้ชีวิต จังหวะการทำงาน และสุขภาพกายของแต่ละบุคคล

สำหรับคนส่วนใหญ่ แนะนำให้รับประทานอาหารสม่ำเสมอทั้ง 3 มื้อ แต่ในปริมาณที่พอเหมาะ ไม่มากเกินไป การรับประทานอาหารเช้าที่ดีเพื่อให้พลังงาน และสารอาหารเพียงพอ ให้ความสำคัญกับอาหารเย็นในปริมาณที่สมดุล ทานในระดับปานกลาง หลีกเลี่ยงการทานอาหารมากเกินไป และไม่ควรอดอาหารมากจนเกินไปด้วยเช่นเดียวกัน.

ที่มาและภาพ : Soha