อาการของโรค MDD คืออะไร ?
อาการหลักของโรค MDD คือ “ความรู้สึกเศร้า” หรือ “ท้อแท้” ที่เกิดขึ้นเป็นระยะเวลานาน ผู้ป่วยอาจมีอาการอื่นร่วมด้วย เช่น การสูญเสียความสนใจหรือความสุขในกิจกรรมที่เคยชอบ น้ำหนักหรือความอยากอาหารเปลี่ยนแปลงโดยไม่ทราบสาเหตุ นอนหลับผิดปกติ ทั้งนี้ยังมีอาการขาดพลังงาน สมาธิลดลง และความคิดเชิงลบที่เข้ามาครอบงำอย่างต่อเนื่อง บางคนอาจถึงขั้นคิดถึงการทำร้ายตัวเองหรือฆ่าตัวตาย ซึ่งเป็นสัญญาณเตือนที่จำเป็นต้องได้รับความช่วยเหลืออย่างเร่งด่วน
สาเหตุของโรค MDD คืออะไร ?
การเกิดโรค MDD คือ ผลจากหลายปัจจัยที่รวมกัน ทั้งปัจจัยทางพันธุกรรม สมองที่มีความไม่สมดุลของสารเคมีที่มีบทบาทในการควบคุมอารมณ์ ประสบการณ์ในชีวิต เช่น การสูญเสียบุคคลอันเป็นที่รัก การเลิกรา หรือความกดดันจากงานและความสัมพันธ์ รวมถึงสิ่งแวดล้อมและการเลี้ยงดูที่ไม่เหมาะสม ซึ่งส่งผลให้คนบางกลุ่มมีความเสี่ยงต่อการเป็นโรคซึมเศร้าสูงขึ้น
การวินิจฉัยโรค MDD ทำได้อย่างไร ?
แพทย์จะใช้การประเมินทางจิตเวชและสอบถามอาการผู้ป่วยอย่างละเอียด เพื่อหาว่าผู้ป่วยเข้าข่ายเป็นโรค MDD หรือไม่ โดยแพทย์จะสอบถามเกี่ยวกับระยะเวลาที่มีอาการ อาการที่เกิดขึ้น และผลกระทบที่มีต่อชีวิตประจำวัน รวมถึงตรวจสอบว่ามีอาการของโรคทางจิตเวชอื่นๆ ร่วมด้วยหรือไม่ เช่น โรควิตกกังวล หรือโรคไบโพลาร์ เพื่อให้สามารถวางแผนการรักษาที่เหมาะสมได้
วิธีการรักษาโรค MDD
สำหรับแนวทางการรักษาโรค MDD คือ จะเป็นการใช้ยาควบคู่กับการบำบัดทางจิตวิทยา ซึ่งได้แก่ การใช้ยา antidepressants ที่ช่วยปรับสารเคมีในสมองให้สมดุลขึ้น นอกจากนี้ การบำบัดพฤติกรรมทางความคิด (Cognitive Behavioral Therapy) และการปรึกษาร่่วมกับนักจิตวิทยาเอง ก็เป็นส่วนสำคัญในการช่วยผู้ป่วยรับมือกับความคิดเชิงลบและการจัดการกับอารมณ์ โดยบางรายที่มีอาการรุนแรงมาก อาจจำเป็นต้องเข้ารับการรักษาในโรงพยาบาลเพื่อความปลอดภัย
การป้องกันโรค ทำได้อย่างไร ?
การป้องกันโรค MDD สามารถทำได้ด้วยการหมั่นดูแลสุขภาพจิตของตนเอง เช่น การออกกำลังกายสม่ำเสมอ การจัดการกับความเครียดในชีวิตประจำวัน การมีวงสังคมที่คอยสนับสนุน และการเรียนรู้การเผชิญหน้ากับปัญหาในชีวิต ทั้งนี้ หากรู้สึกว่ามีอาการของโรคซึมเศร้าเกิดขึ้น ควรปรึกษาแพทย์เพื่อหาทางป้องกันและแก้ไขอย่างทันท่วงที
เพราะโรค MDD คือภาวะที่ไม่ควรละเลย ผู้ที่มีอาการควรได้รับการช่วยเหลือจากบุคคลรอบข้างและการรักษาทางการแพทย์อย่างเหมาะสม