ที่ห้องประชุมทิพโฆษิตคุณ สำนักงานเทศบาลเมืองนครพนม นายนิวัต เจียวิริยบุญญา  นายกเทศมนตรีเมืองนครพนม    เป็นประธานการประชุมการจัดตั้งธนาคารขยะ (Recyclable Waste Bank) ต้นแบบตามโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริด้านสาธารณสุข”โครงการพัฒนาระบบสุขาภิบาลในโรงเรียนและชุมชน ตามพระราชปณิธานของสมเด็จพระกนิษฐาธิราชเจ้า กรมสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี ประจำปีงบประมาณ พ.ศ.2567

ผลสำเร็จของการจัดตั้งและการขับเคลื่อนธนาคารขยะ (Recyclable Waste Bank) ขององค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ภายหลังจากกระทรวงมหาดไทยได้ Kick-Off เมื่อวันที่ 1 ม.ค. 67 ตามเป้าหมาย “60 วัน 1 อปท. 1 ธนาคารขยะ” พร้อมทั้งขับเคลื่อนแนวทางการบริหารจัดการธนาคารขยะ ได้แก่ ระยะที่ 1 คือ องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นมีการสำรวจขยะมูลฝอยระดับครัวเรือน ประชุมรับฟังความคิดเห็นการดำเนินงานธนาคารขยะ และจัดทำคำสั่งแต่งตั้งคณะกรรมการบริหารธนาคารขยะ คณะกรรมการธนาคารขยะในระดับชุมชน/หมู่บ้าน ระยะที่ 2 คือ การประชุมและแต่งตั้งคณะทำงานฝ่ายต่าง ๆ รวมถึงการจัดทำระเบียบ/ข้อบังคับธนาคารขยะ และการสร้างการรับรู้กับพี่น้องประชาชนในพื้นที่ และระยะที่ 3 คือ ธนาคารขยะของ อปท. ทุกแห่ง มีการเปิดรับสมาชิกธนาคารขยะและมีการประชุมทำความเข้าใจกับสมาชิกธนาคารขยะ ซึ่งขณะนี้ดำเนินการครบถ้วน 100% คือ จำนวน 7,773 องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่นทั่วประเทศ ซึ่งมีจำนวนธนาคารขยะทั่วประเทศ รวมทั้งสิ้น 14,655 แห่ง 

ในปัจจุบันปัญหาเรื่องขยะนับว่าเป็นปัญหาสำคัญในชุมชน สาเหตุเนื่องมาจากประชากรในชุมชนไม่ค่อยดูแลรักษาความสะอาดทำให้ขยะในชุมชนเพิ่มขึ้น สถานประกอบการต่างๆมีมากขึ้น และ สิ่งที่ตามมาอย่างเลี่ยงไม่ได้คือขยะย่อมมีจำนวนมากขึ้นตามไปด้วย จนกระทั่งการกำจัดขยะไม่สมดุลกันการเพิ่มขึ้นของจำนวนขยะ จึงมีขยะที่เหลือตกค้างรอการกำจัดอยู่เป็นจำนวนมาก   “ขยะ” ผู้คนส่วนมาก ละเลยและไม่เห็นคุณค่า ทั้งที่ขยะเหล่านั้นหากนำมาคัดแยกอย่างถูกวิธีแล้วจะสามารถสร้างประโยชน์ได้และยังสามารถนำกลับมาหมุนเวียนเข้ากระบวนการผลิตเพื่อนำกลับมาใช้ใหม่ได้อีกครั้ง ซึ่งเป็นการประหยัดทรัพยากรและเงินงบประมาณแผ่นดินได้เป็นจำนวนมาก รวมทั้งปริมาณขยะก็จะลดจำนวนลงได้มาก ซึ่งจะส่งผลดีทั้งต่อสิ่งแวดล้อม