รศ.นพ.วีรศักดิ์ จรัสชัยศรี อาจารย์แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านนิติเวชศาสตร์ มหาวิทยาลัยศรีนครินทรวิโรฒ (มศว) ได้พูดถึงเรื่องนี้ ผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว หมอหมู วีระศักดิ์ ซึ่งเปิดผลการศึกษาพบว่า เตือนอาหารยอดนิยม บางเมนูมีความเสียชีวิตก่อนวัย 10% จริงหรือไม่
โดยคุณหมอหมู ระบุข้อความว่า จากงานวิจัยล่าสุด ที่ศึกษาในผู้คนกว่า 500,000 คน พบว่าการรับประทานอาหารแปรรูปสูง (ultra-processed foods) จะเพิ่มโอกาสเสียชีวิตเร็วขึ้นร้อยละ 10 ผลการวิจัยที่นำเสนอในงาน Nutrition 2024 ซึ่งเป็นการประชุมประจำปีของ American Society for Nutrition เผยให้เห็นว่าผู้สูงอายุที่บริโภคอาหารแปรรูปสูงในปริมาณมาก มีความเสี่ยงที่จะเสียชีวิตเพิ่มขึ้นประมาณ 10% ในช่วงเวลาติดตามผลเป็นเวลา 23 ปี เมื่อเทียบกับผู้ที่บริโภคอาหารแปรรูปน้อยกว่า
คุณหมอหมู ระบุข้อความอีกว่า จากการศึกษาวิจัย ทีมวิจัยได้ติดตามผู้ใหญ่ชาวอเมริกันกว่า 5 แสนคน เป็นเวลาเกือบสามทศวรรษ พบว่าการรับประทานอาหารแปรรูปสูงในปริมาณมากขึ้น มีความเกี่ยวข้องกับการเพิ่มขึ้นของการเสียชีวิตจากสาเหตุต่างๆ ที่เกี่ยวข้องกับ โรคหัวใจ และ โรคเบาหวาน แต่ไม่พบความเกี่ยวข้องกับการเสียชีวิตที่เกี่ยวข้องกับมะเร็ง
โดยอาหารแปรรูปสูง มีดังนี้
1. จัดอยู่ในกลุ่มอาหารที่อยู่ห่างไกลจากสภาพเดิมมากที่สุด นอกจากนี้ เครื่องดื่มยังถือเป็นอาหารที่ผ่านการแปรรูปอย่างมากอีกด้วย
2. อาหารแปรรูปสูง มีแนวโน้มที่จะมีสารเติมแต่งและส่วนผสมมากมาย ที่โดยปกติไม่ใช้ในการทำอาหารที่บ้าน เช่น สารกันบูด อิมัลซิไฟเออร์ สารให้ความหวาน สีและรสชาติเทียม
3. ตัวอย่างของอาหารแปรรูปสูง ได้แก่ มันฝรั่งทอดกรอบ ช็อกโกแลต ขนมหวาน บิสกิต เบอร์เกอร์ ไส้กรอก พิซซ่าแช่แข็ง เนยเทียม และแยม การศึกษาครั้งก่อนๆ พบว่าการบริโภคอาหารแปรรูปสูง เกี่ยวข้องกับความดันโลหิตสูง โรคหลอดเลือดหัวใจ โรคหัวใจ และโรคหลอดเลือดสมอง
อย่างไรก็ตาม ข้อมูลทั้งหมดที่คุณหมอหมูนำเสนอ มีการอ้างอิงแหล่งที่มาชัดเจน และได้พยายามอ้างอิงจากแหล่งข้อมูลที่เชื่อถือได้ แต่บางครั้งอาจมีการโต้แย้งในข้อมูล ซึ่งเป็นเรื่องปกติในแวดวงวิชาการ ดังนั้นจึงขอเรียนทุกท่านว่า โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่านบทความของคุณหมอหมู และควรหาข้อมูลเพื่มเติมเพื่อความถูกต้องอีกครั้ง.
ขอบคุณข้อมูล : หมอหมู วีระศักดิ์