ส่วน 7 อันดับ 1.สนามบินปารีส ชาร์ลเดอโกล (CDG) -ฝรั่งเศส 2.สนามบินนาริตะ- ญี่ปุ่น 3.สนามบินคันไซ –ญี่ปุ่น 4. สนามบินชูบุเซ็นแทร์ -ญี่ปุ่น 5.สนามบินไอนด์โฮเฟน – เนเธอร์แลนด์ 6.สนามบินกัวลาลัมเปอร์-มาเลเซียและ7.สนามบินเมลเบิร์น-ออสเตรเลีย

โครงการพัฒนาท่าอากาศยานดอนเมือง เฟส 3 วงเงิน 36,829 ล้านบาท ทอท.ลงทุนเองทั้งหมด ออกแบบรายละเอียดเสร็จแล้ว อยู่ในขั้นตอนตรวจแบบฯ คาดว่าจะเปิดประกวดราคาหาผู้รับจ้างก่อสร้างเดือน ส.ค.2568 เริ่มก่อสร้างอาคารผู้โดยสารหลังใหม่ อาคาร 3 พื้นที่ 1.66 แสนตารางเมตร(ตรม.) เป็นลำดับแรก ประมาณต้นปี 2569 มีแผนเปิดบริการปี 2573 เพิ่มขีดความสามารถรองรับผู้โดยสาร อีก 15 ล้านคนต่อปีจากปัจจุบันประมาณ 30 ล้านคนต่อปี รวมเป็น 45 ล้านคนต่อปี และบริหารจัดการให้รองรับผู้โดยสารได้สูงสุดเป็น 50 ล้านคนต่อปี

รายละเอียดเนื้องานประกอบด้วย 1.การทุบอาคารภายในประเทศหลังเก่าอายุ40ปีที่ปิดใช้งานอยู่ทั้งหมด สร้างใหม่ 4 ชั้นหลังที่ 3 เป็นอาคารผู้โดยสารระหว่างประเทศรองรับได้ 18 ล้านคนต่อปี คาดว่าจะเริ่มทุบอาคารหลังเก่าฯไตรมาสที่ 2 (ม.ค.-มี.ค.) ปี 2569 อาคารหลังใหม่จะเพิ่มเคาน์เตอร์เช็กอิน ช่องตรวจค้น จุดตรวจหนังสือเดินทาง รวมถึงพื้นที่โถงพักคอยผู้โดยสาร และเพิ่มความสะดวกสบายในการให้บริการด้วยเทคโนโลยีใหม่ๆ อาทิ ระบบเช็กอินอัตโนมัติ (Self Check in) และเครื่องโหลดสัมภาระอัตโนมัติ (Self Bag drop) สร้างศักยภาพเป็นศูนย์กลาง(ฮับ)การเดินทางของสายการบินต้นทุนต่ำระหว่างประเทศ
2. ปรับปรุงอาคารผู้โดยสาร หลังที่ 1 (ระหว่างประเทศ) ทั้งหมดเพื่อรวมพื้นที่เข้ากับอาคารผู้โดยสารหลังที่ 2 (ภายในประเทศ) เป็นอาคารผู้โดยสารภายในประเทศ ขยายพื้นที่บริการ 2.1แสน ตร.ม. ส่งผลให้ทดม. มีพื้นที่รองรับผู้โดยสารรวมเกือบ 4 แสนตร.ม. มีศักยภาพเป็นศูนย์กลางการบินรองรับการเดินทางภายในประเทศเต็มรูปแบบ เพิ่มสิ่งอํานวยความสะดวกต่างๆ ทั้งเคาน์เตอร์เช็กอิน จุดตรวจค้น และสะพานเทียบเครื่องบิน ส่วนพื้นที่อาคาร Service Hall ที่ให้บริการปัจจุบัน หากในอนาคตพบว่า ไม่มีความจำเป็นรองรับกรุ๊ปทัวร์แล้ว เพราะส่วนใหญ่ใช้อาคารระหว่างประเทศจะปรับเป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์บริการร้านค้า และร้านอาหารแทน
3. ปรับปรุงระบบการจราจรเข้า และออก ทดม. โดยก่อสร้างสะพานเชื่อมทางยกระดับดอนเมืองโทลเวย์กับถนนภายในสนามบินทั้งขาเข้า และขาออก เพิ่ม 2 จุด และปรับปรุงขยายช่องจราจรหน้าอาคารผู้โดยสาร เป็น 6 ช่องทาง พร้อมปรับปรุงช่องทางออกด้านทิศใต้ลดปัญหาการจราจรติดขัดภายใน และ4.ก่อสร้างและปรับปรุงหลุมจอดอากาศยานเพิ่มจาก 108 หลุมจอด เป็น 138 หลุมจอด ขยายพื้นที่ลานจอดอากาศยาน ติดตั้งสะพานเทียบเครื่องบิน จาก 27 สะพาน เป็น 40 สะพาน ปรับปรุงอาคารสินค้า อาคารสํานักงาน และระบบสาธารณูปโภครองรับกิจกรรมทางการบิน และการขนส่งทางอากาศ รวมทั้งสร้างอาคารที่จอดรถยนต์เพิ่ม 4 พันคัน จากเดิม 2 พันคัน

นอกจากนี้ยังมีแผนพัฒนาอาคารคลังสินค้า 4 ทดม. เป็นอาคารเครื่องบินส่วนบุคคล (Privete Jet) พร้อมโรงจอด และศูนย์ซ่อมบำรุง อยู่ด้านทิศเหนือของสนามบิน เพิ่มเติมจากที่มี MJET ให้บริการอยู่ด้านทิศใต้รองรับเครื่องบินส่วนบุคคลให้มากขึ้น จาก 30 เที่ยวบินต่อวัน เป็น 60 เที่ยวบินต่อวัน และดึงกลุ่มผู้โดยสารชั้นดีเดินทางมาประเทศไทย รองรับการเป็นศูนย์กลางการบินภูมิภาคตามนโยบายรัฐบาล และดึงเที่ยวบินจากประเทศสิงคโปร์ ซึ่งเป็นฮับเครื่องบินส่วนบุคคลใช้บริการวันละ 200 เที่ยวบินต่อวันด้วย

สำหรับอาคารคลังสินค้า 4 ทดม.ห่างอาคารผู้โดยสารมากกว่า 1 กม. เดิมจะพัฒนาเป็นพื้นที่เชิงพาณิชย์ จำเป็นต้องใช้รถไฟฟ้าไร้คนขับ(APM) เข้ามาให้บริการ เพิ่มความสะดวกผู้โดยสาร ทอท. เปลี่ยนแนวคิดการพัฒนาพื้นที่เป็นอาคารเครื่องบินส่วนบุคคลจึงไม่มีความจำเป็นต้องใช้APMจะใช้ทางเดินเลื่อนอัตโนมัติอำนวยความสะดวกเชื่อมต่อระหว่างอาคารผู้โดยสารภายในประเทศ และระหว่างประเทศทั้ง 3 อาคารซึ่งมีระยะทางไม่ไกลมากนัก
เบื้องต้นจะแยกสัญญาประมูลก่อสร้างอาคารเครื่องบินส่วนบุคคลในรูปแบบรัฐและเอกชนร่วมลงทุน (PPP) สัมปทาน 15-20 ปี จะเปิดประมูลใกล้เคียงกับโครงการพัฒนา ทดม. เฟส 3 โดยนำอาคารเครื่องบินส่วนบุคคลหลังปัจจุบัน ที่จะหมดสัมปทานปี 69 เข้ามาร่วมประมูลพร้อมกันทั้ง 2 อาคาร การสร้างอาคารเครื่องบินส่วนบุคคลเพิ่มเป็นแห่งที่ 2 จะเพิ่มรายได้ 3 พันล้านบาทต่อปี ทั้งนี้โครงการเฟส 3 และอาคารเครื่องบินส่วนบุคคลจะแล้วเสร็จทั้งหมดและเปิดบริการเต็มรูปแบบภายในปี 2575
นายกีรติ กิจมานะวัฒน์ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ ทอท. บอกว่า ปีนี้ ทอท. ยังเดินหน้าพัฒนางานบริการต่างๆ เพื่อให้ผู้โดยสารได้รับความสะดวก และรวดเร็ว อาทิ ติดตั้งช่องตรวจหนังสือเดินทางอัตโนมัติทั้งขาเข้าและขาออก เพิ่มเติมเพื่อช่วยลดแถวคอยขั้นตอนตรวจหนังสือเดินทาง เพิ่มความพึงพอใจในการใช้บริการ จะส่งผลให้การจัดอันดับดีขึ้นอย่างต่อเนื่อง มั่นใจว่าจะติดอันดับ 1 ใน 5 ได้ ภายหลังเปิดบริการอาคารผู้โดยสารหลังที่ 3 ประมาณปี 2573
ขณะนี้สนามบินดอนเมืองมีผู้โดยสาร8-9 หมื่นคนต่อวัน กว่า 500 เที่ยวบินต่อวัน ข้อมูลปี 2567 มีผู้โดยสาร 29.15 ล้านคน 197,250 เที่ยวบิน….สงกรานต์สดใส…ปีต่อๆไปลุ้นการไต่ขึ้นอันดับ.
……………………………………………….
นายสปีด
***ห้ามคัดลอกเนื้อหาและภาพในบทความนำไปใช้โดยไม่ได้รับอนุญาต