หลาย ๆ ท่านคงเกิดคำถามในใจเวลาที่พบข่าวรถเบรกแตกจนเกิดอุบัติเหตุตามมาบนท้องถนน แล้วหากเกิดเหตุเช่นนั้นกับรถของเรา จะมีวิธีป้องกันแก้ไขอย่างไรกัน? วันนี้ “รู้ก่อนเหยียบ” มีคำตอบมาฝากครับ
 
“วิธีป้องกันเบรกแตก”
-“เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเบรก”
ปีละ 1 ครั้ง แม้ว่าไม่มีการรั่วซึมก็ตาม เนื่องจาก “น้ำมันเบรก” มีคุณสมบัติเป็นสารที่ดูดซับความชื้นจากอากาศได้ดี แถมยังสามารถผสมเข้าเป็นเนื้อเดียวกันได้ เมื่อความชื้นเข้ามาปะปนอยู่ใน “น้ำมันเบรก” จะส่งผลให้มีจุดเดือดลดต่ำลง ยิ่งในประเทศไทยยังเป็นเขตที่มีความชื้นสูง จึงเป็นที่มาของการแนะนำให้ “เปลี่ยนถ่ายน้ำมันเบรก” ทุก 1 ปี เพื่อไล่ความชื้นที่ผสมอยู่ในน้ำมันเบรก และยังเป็นการป้องกันการกัดกร่อนจากสนิมที่เกิดจากความชื้น ซึ่งจะทำให้ “ลูกยางเบรกรั่วได้ง่าย”
-ผ้าเบรก ควรเลือกใช้ชนิดที่ได้คุณภาพ เนื่องจากสามารถทนความร้อนได้ตามมาตรฐาน อีกทั้งเมื่อใช้งานไปเรื่อยๆ จนผ้าเบรกบางลงจนมีความหนาต่ำกว่า 3 มิลลิเมตรควรเปลี่ยนทันที
-จานเบรก เมื่อผ้าเบรกที่มีโลหะผสมอยู่มาก ฝุ่น หิน และการปล่อยให้ผ้าเบรกหมด จะทำให้จานเบรกเป็นรอย และการขับรถลุยน้ำขณะที่จานเบรกร้อน จะทำให้จานเบรกคด บิดตัว จนต้องทำการเจียร์จาน แต่การเจียร์จะทำให้จานเบรกบางลง และเมื่อบางลงต่ำกว่าค่าที่ผู้ผลิตกำหนด “ควรเปลี่ยนจานเบรกใหม่” ซึ่งหากไม่เปลี่ยน เมื่อผ้าเบรกบางลงอาจทำให้ลูกสูบเบรกหลุด นำมาสู่อาการ “เบรกแตก” ได้ในที่สุด

Mechanic changing brake discs in car service

วิธีรับมือเมื่อรถเบรกแตก
1.ตั้งสติ เมื่อเหยียบเบรกแล้วรถไม่ชะลอหรือหยุด ควรตั้งสติ พยายาม หาวิธีแก้ปัญหาเพื่อทำให้รถช้าลง ถ้ามีช่องว่างให้ชิดซ้ายทันที เพราะรถเบรกแตกขับไม่ว่าจะช้าหรือเร็วก็ไม่ปลอดภัย เสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุทั้งนั้น
2.ลดคันเร่ง-ความเร็ว จำไว้ว่าเครื่องยนต์มีแรงเสียดทาน และจงใช้มันให้เป็นประโยชน์ โดยการ Engine Brake โดยเครื่องยนต์จะเกิดการหน่วง ช่วยให้เกิดการลดความเร็วอย่างกะทันหัน สามารถทำได้โดยเหยียบคลัทช์ ลดตำแหน่งเกียร์ลง โดยในเกียร์อัตโนมัติใช้วิธีกดปุ่ม Overdrive on หรือ สลับตำแหน่ง เกียร์ จาก D มาเป็น 3 และห้ามเปลี่ยนมาเป็น L โดยเด็ดขาดไม่เช่นนั้น อาจะทำให้เครื่องยนต์พังได้
3.เบรกมือ โดยการค่อยๆ ยกเบรกมือขึ้นจนสุด เน้นย้ำว่าค่อยๆ ยกขึ้นทีละนิด เพื่อช่วยลดความเร็วที่ล้อหลัง และห้ามดึงแรงๆ ทีดียวโดยเด็ดขาด
4.จับพวงมาลัยให้มั่นแล้วชิดซ้าย เมื่อพยายามลดความเร็วโดยวิธีต่างๆ ข้างต้น จนเริ่มรู้สึกว่ารถจะค่อยๆ ช้าลงแล้ว แต่ไม่ถึงกับหยุดสนิท ควรชิดซ้ายเข้าข้างทาง ห้ามเร่งคันเร่งเพิ่ม หากมีรถกีดขวางให้บีบแตรเพื่อเป็นการส่งสัญญาณ และถ้าเป็นไปได้เปิดไฟฉุกเฉินไปด้วยพร้อมๆ กัน…

………………………..
คอลัมน์ : รู้ก่อนเหยียบ
โดย “ช่างเอก”
ติดต่อสอบถามข้อมูลโดยตรงที่ [email protected]

คลิกอ่านบทความทั้งหมดได้ที่นี่