การขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นเครดิตตามมาตรา 84 แห่งประมวลรัษฎากร
ผู้ประกอบการจดทะเบียนยื่นแบบแสดงรายการ และมีเครดิตภาษีเหลืออยู่จากการคํานวณภาษีในเดือนภาษีใด มีสิทธิขอนําเครดิตภาษีคงเหลือนั้นยกไปชําระภาษีมูลค่าเพิ่มในเดือนถัดจากเดือนภาษีที่คํานวณภาษีนั้น และหากในเดือนภาษีที่นําเครดิตไปชําระยังมีเครดิตภาษีคงเหลืออยู่อีกก็ให้นําไปชําระภาษีมูลค่าเพิ่มในเดือนถัดไปได้เช่นนี้ถัดไป จนกว่าเครดิตที่เหลืออยู่นั้นจะหมดไป การไม่ลงลายมือชื่อในช่อง “การขอคืนภาษี” ให้ถือว่าประสงค์จะนําเครดิตภาษีไปชําระภาษีมูลค่าเพิ่มในเดือนถัดไป ในกรณีที่มิได้นําเครดิตภาษีที่เหลืออยู่ไปชําระภาษีมูลค่าเพิ่มในเดือนภาษีถัดไปจะยกเครดิตภาษีดังกล่าวข้ามไปชําระภาษีในเดือนอื่น ๆ ไม่ได้แต่ให้ขอคืนเป็นเงินสดโดยยื่นคําร้องด้วยแบบ ค.10
กรณียื่นแบบ ภ.พ.30 สำหรับเดือนภาษีเกินกำหนดเวลา สามารถนำภาษีที่ชำระเกินมาขอเครดิตได้ ตามมาตรา 84 แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 242) พ.ศ. 2534 สำหรับเดือนภาษีถัดไปก็ยังคงสามารถนำเครดิตยกมาใช้เครดิตภาษีได้ หากไม่นำเครดิตยกมาใช้ ก็สามารถยื่นคำร้องขอคืนเป็นเงินสดได้ เช่น กรณียื่นแบบ ภ.พ.30 สำหรับเดือนกุมภาพันธ์เกินกำหนดเวลา สามารถนำภาษีที่ชำระเกินมาขอเครดิตได้ ตามมาตรา 84 แห่งประมวลรัษฎากร ประกอบกับพระราชกฤษฎีกาฯ (ฉบับที่ 242) พ.ศ. 2534 สำหรับเดือนภาษีมีนาคมก็สามารถนำเครดิตยกมาใช้เครดิตภาษีได้ หากไม่นำเครดิตยกมาใช้ ก็สามารถยื่นคำร้องขอคืนเป็นเงินสดได้
กรณีดังกล่าว เกิดขึ้นตั้งแต่ชั้นเริ่มแรกของการนำระบบภาษีมูลค่าเพิ่มมาใช้บังคับในประเทศไทย ซึ่งตามหลักการและเหตุผล เกี่ยวกับการนำเครดิตภาษีไปใช้ในเดือนภาษีถัดไป นั้น ยอมให้ใช้ได้เฉพาะการยื่นแบบ ภ.พ.30 ฉบับปกติ เท่านั้น และไม่ว่า แบบ ภ.พ.30 ฉบับปกตินั้น จะยื่นภายในกำหนดเวลาหรือไม่ก็ตาม
กรณีบริษัทฯ มีภาษีซื้อมากกว่าภาษีขายมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 และได้ขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มเป็นเครดิตมาโดยตลอดจนกระทั่งปี พ.ศ. 2567 เช่นนี้ บริษัทฯ ปฏิบัติถูกต้องแล้ว แต่หากถูกเรียกตรวจสอบการขอคืนภาษีมูลค่าเพิ่มดังกล่าว บริษัทฯ ต้องแสดงหลักฐานใบกำกับภาษีตั้งแต่ปี พ.ศ. 2549 จนถึงปัจจุบันแก่เจ้าพนักงานประเมิน เพื่อตรวจสอบความถูกต้องของภาษีซื้อดังกล่าว.