ทั้งนี้ ยุคปัจจุบันนี้ “ผู้กระทำผิด” กรณีต่าง ๆ ที่ “ออกมาขอโทษสังคม” มีปรากฏทางสื่อต่าง ๆ อยู่เนือง ๆ ขณะที่หลาย ๆ กรณีกลับ “ยิ่งเกิดกระแสวิจารณ์อื้ออึงจากท่าทีที่แสดงออกมา” โดยผู้เชี่ยวชาญภาษากายชี้ไว้ว่า “สำนึกผิด?-ไม่สำนึกผิด?” เรื่องนี้ “มีหลักสังเกตได้”

กำลังโกหก” หรือไม่?? มีวิธีจับผิด”

ผ่านการจับสังเกตด้วยภาษากาย”

เกี่ยวกับการ “จับโกหกคำขอโทษ” หรือการ “วัดความรู้สึกผิดจากท่าทาง” นั้น เรื่องนี้ยึดโยงศาสตร์ที่ในปัจจุบันได้มีการนำมาใช้แพร่หลายเพิ่มมากขึ้นในหลาย ๆ วงการ จากเดิมในอดีตใช้กันเฉพาะแค่ในวงการตำรวจ หรือนักอาชญวิทยา เพื่อ “จับพิรุธคนร้าย” ระหว่างการสืบสวนสอบสวนเท่านั้น โดย “ทีมสกู๊ปเดลินิวส์” จะสะท้อนต่อข้อมูลเกี่ยวกับการ “จับพิรุธคนโกหก”ผ่านการ “ถอดรหัสภาษากาย” โดยเฉพาะกรณี “แกล้งสำนึกผิด” ซึ่งเรื่องนี้ทาง หมอมด-ทพ.อภิชาติ ลีนานุรักษ์ นักถอดรหัสภาษากาย ผู้ก่อตั้ง www.BodyLanguageClassroom ได้มีการแจกแจงข้อมูลผ่านเว็บไซต์ดังกล่าวไว้น่าสนใจ

หมอมด-ทพ.อภิชาติ ลีนานุรักษ์

ทพ.อภิชาติ หรือ หมอมด นักภาษากาย สะท้อนผ่านเว็บไซต์ดังกล่าวไว้ว่า… จริง ๆ มีบ่อยครั้งที่ “สังคมไม่ยอมรับ” กรณีการยอมรับผิดของผู้ก่อเหตุไม่ดีที่ออกมา “ขอโทษสังคม” เนื่องจากสังคมอาจจะ “เห็นข้อพิรุธ” บางอย่างของผู้ก่อเหตุที่สะท้อนออกมา ว่า… “ดูปลอม!!” ซึ่งทางผู้เชี่ยวชาญภาษากายท่านนี้ก็อธิบายว่า… ข้อพิรุธต่าง ๆ ที่แสดงผ่าน “สีหน้า-แววตา-ท่าทาง” เหล่านี้คือ “ภาษากาย” นั่นเองซึ่ง “เป็นสิ่งที่ปกปิดได้ยาก” หรือ “หลอกกันไม่ได้” แม้จะพยายาม “ทำทีเสียใจ-ร้องไห้-กล่าวคำขอโทษ” ก็ตาม…เนื่องจาก “ในใจลึก ๆ ไม่ได้สำนึกผิดจริง”แต่ต้องทำเพื่อหวังลดกระแสสังคม

ทางผู้เชี่ยวชาญภาษากายอธิบายเรื่องนี้ไว้เพิ่มเติมว่า… เหตุที่บอกว่า “ภาษากายหลอกกันไม่ได้” นั่นก็เพราะ ภาษากายคือรูปแบบหนึ่งของภาษาพูดที่ไม่จำเป็นต้องใช้คำพูด แต่จะแสดงออกมาผ่านทางร่างกาย ท่าทาง สีหน้า ที่มักจะตรงกับอารมณ์ความรู้สึก ณ วินาทีนั้น ที่แม้มนุษย์จะควบคุมความรู้สึกกับอารมณ์ที่เกิดขึ้นได้บ้างก็ตาม เช่น อารมณ์เสียใจ โกรธ เกลียด กลัว ตกใจ หรือประหม่า แต่ก็เป็นการควบคุมด้วยสติ ซึ่งสุดท้ายแล้วความรู้สึกที่แท้จริงก็จะแสดงออกมาอยู่ดี

แม้ในคนที่ควบคุมอารณ์ได้เก่ง แต่สุดท้ายก็จะต้องแสดงภาษากายบางอย่างออกมาไม่แบบใดก็แบบหนึ่ง เพราะเป็นความรู้สึกที่เกิดขึ้นตามสัญชาตญาณของคนนั้น ด้วยเหตุนี้ภาษากายจึงมีความซื่อสัตย์ และโกหกไม่ได้ ไม่เหมือนกับคำพูดที่คนเราจะโกหกยังไงก็ได้”…นี่เป็น “ความสำคัญของภาษากาย” ที่ผู้เชี่ยวชาญได้มีการสะท้อนไว้

ทั้งนี้ “ภาษากายที่สื่อออกมา” นั้น ทางผู้เชี่ยวชาญท่านเดิมก็มีการให้ข้อมูลไว้อีกว่า… ภาษากายที่แสดงออกมาจะมีทั้งที่รู้ตัว และไม่รู้ตัว เช่น การกระพริบตา ท่าทางการนั่ง รวมถึงลักษณะการเคลื่อนไหวของมือและเท้า กับอวัยวะต่าง ๆ เป็นต้น ซึ่งเป็น “กลไกอัตโนมัติทางร่างกายและระบบสมอง” …ทาง หมอมด ระบุเรื่องนี้ไว้ ที่ต่อให้ฝืนแค่ไหนก็ฝืนไว้ไม่ได้อยู่ดี!!

ขณะที่ “ปุจฉา” ที่หลายคนมี กับคำถามที่ว่า… แล้วจะสามารถวัดความรู้สึกผิดจากภาษากายได้มั้ย??เรื่องนี้ผู้เชี่ยวชาญภาษากายก็ได้อธิบายไว้ว่า… แม้จะมีคนมองว่าความรู้สึกเป็นสิ่งที่จับต้องไม่ได้ทำให้ไม่สามารถใช้มาตรวัดอะไรมาวัดค่าได้ก็ตาม หากแต่ ในเชิงภาษากายแล้วสามารถตรวจวัดความรู้สึกผิดได้!! เนื่องจากคนเรานั้น ถ้าหากยิ่งรู้สึกผิดก็จะยิ่งมีอารมณ์และความรู้สึกที่มากขึ้นผกผันตามไปด้วย หรือที่ในภาษาอังกฤษใช้คำว่าIntensity of Emotion and Feelings

กับ “การวัดค่าความรู้สึกผิด” ด้วย “ภาษากาย” นั้น ผู้เชี่ยวชาญก็ชี้ไว้ว่า… อาจทำได้ด้วยการ “ประเมินส่วนผสมของอารมณ์กับความรู้สึกผิด” เช่น… ถ้า รู้สึกผิด และ มีอารมณ์เสียใจ รวมอยู่ด้วย ภาษากายที่แสดงออกมาชัดเจนที่สุดก็คือผ่าน สีหน้า (Facial expression)ของคน ๆ นั้น หรือกรณีที่ มีความละอาย (Shame) เป็นส่วนผสมกรณีนี้จะไม่มีสีหน้าที่เฉพาะเจาะจง แต่จะเห็นได้จากภาษากายอื่น ๆ ที่แสดงออกมา เช่น หลบตา ใช้มือปิดปาก หันหน้าออกด้านข้างบ่อย ๆ ในขณะที่กำลังสนทนา หรือสารภาพความผิด …นี่เป็น “หลักสังเกตเบื้องต้น”ที่ ทพ.อภิชาติ ลีนานุรักษ์ ระบุไว้ในบทความ

นอกจากนี้ ผู้เชี่ยวชาญท่านเดิมยังระบุไว้ถึงประเด็นที่มีหลายคนสงสัย อย่าง “การทำโบท็อกซ์กับการโกหก” ว่า… มีผลต่อการแสดงสีหน้าแค่ไหน?? ซึ่งนักถอดรหัสภาษากายอธิบายไว้ว่า… สารโบท็อกซ์ (Botox) เป็นสารฉีดที่ทำให้กล้ามเนื้อเกิดลักษณะ Paralysis คือทำให้ไม่สามารถหดตัวได้เหมือนเดิม ซึ่งจะส่งผลให้ริ้วรอยบนใบหน้าลดลง ด้วยเหตุนี้จึงมีการใช้เป็นสารฉีดที่นิยมมากในกลุ่มผู้ที่ต้องการลดรอยเหี่ยวย่นและกระชับใบหน้า ส่วนมีผลแค่ไหนกับการโกหก ก็อาจจะมีบ้าง เนื่องจากสารโบท็อกซ์ที่ฉีดจะไปลดการทำงานของกล้ามเนื้อใบหน้า ที่ อาจมีผลต่อการแสดงสีหน้าขณะโกหกบ้าง แต่ก็ไม่ทั้งหมด

ก็คงมีผลบ้าง โดยเฉพาะการแสดงสีหน้าที่ลดลงกว่าปกติ เช่น คนที่ฉีดระหว่างคิ้ว ก็อาจแสดงสีหน้าบางอารมณ์ผิดเพี้ยนไป แต่จะให้กลบเกลื่อนคำโกหกทั้งหมด ก็อาจจะไม่ใช่ เพราะแม้ไม่แสดงทางสีหน้า แต่ก็มีภาษากายอื่น ๆ อยู่ดี เช่น ท่าทาง การเคลื่อนไหว…เป็นคำอธิบายของผู้เชี่ยวชาญ ที่ “ถอดรหัสวิสัชนา” เรื่องที่หลายคนคาใจ

ว่าด้วย “ภาษากาย” กับ “พิรุธโกหก??”

แสร้งขอโทษ” ก็ “ใช้ภาษากายจับได้”

นี่เป็นกลไกธรรมชาติที่ “ปิดไม่มิด!!”.

ทีมสกู๊ปเดลินิวส์