เพราะชัดเจนแล้ว ไม่ว่าช่วงวัย หรือสถานะสังคมใด ล้วนมีโอกาสตกเป็นเหยื่อ

ทีมข่าวอาชญากรรม” ถอดแผนประทุษกรรมกรณี “ชาล็อต” ตรงสูตรสำเร็จของแก๊งคอลเซ็นเตอร์ขนาดไหน เพื่อเป็นอุทธาหรณ์อีกครั้งของสังคม

สูตรแก๊งคอลเซ็นเตอร์มิจฉาชีพหลอก ‘ชาล็อต’
เบอร์โทรเลขหมายแปลกรับสายเบอร์แปลก
อ้างตัวเป็นเจ้าหน้าที่รัฐอ้างเป็นเจ้าหน้าที่กรมสอบสวนคดีพิเศษ(ดีเอสไอ)
อ้างเหยื่อพัวพันฟอกเงิน ยาเสพติด หรือคดีดังอ้างเกี่ยวข้องกับการขายบัญชีให้ ผู้ต้องหาฟอกเงินคดีดัง โกงหุ้นสตาร์ค
โอนสาย อ้างให้คุยกับเจ้าหน้าที่อีกคนให้กดโค้ด อ้างโอนสายให้คุยต่อกับตำรวจไซเบอร์ สุดท้ายพบเป็นโค้ดทำให้บล็อกเบอร์ บุคคลอื่นไม่สามารถติดต่อมาได้
ให้เพิ่มเพื่อนทางไลน์ คุยแบบวิดีโอคอลให้เพิ่มเพื่อนทางไลน์ เพื่อวิดีโอคอลพูดคุย อ้างใช้ภาพและวิดีโอเป็นหลักฐานช่วยเหลือในชั้นศาล
ห้ามติดต่อ หรือบอกใคร เป็นความลับราชการอ้างติดตามตำแหน่งที่อยู่ได้ ห้ามบอกเรื่องนี้กับใคร เป็นความลับราชการ หากบอกใครคนนั้นจะถูกดำเนินคดีไปด้วย
โชว์เอกสารปลอมจากศาล หรือ ปปง.นำเอกสารอ้างว่าเกี่ยวข้องกับคดีความมาโชว์ จนเชื่อสนิทใจ
หลอกล่อช่วยเหลือ และให้โอนเงินไปตรวจสอบธุรกรรม ยืนยันความบริสุทธิ์หลอกให้โอนเงินยืนยันความบริสุทธิ์ อ้างนำไปตรวจสอบเส้นทางการได้มา และจะคืนภายใน 10-15 นาที เหยื่อโอนครั้งแรก 2 ล้านบาท มีการดึงเรื่องไม่คืนตามเวลาอ้างอยู่ระหว่างการประชุมกับผู้บังคับบัญชา
ห้ามวางสาย พยายามหลอกถาม หลอกให้โอนเงินไปเรื่อย ๆตลอดการพูดคุยกำชับห้ามวางสายเด็ดขาด และหลอกให้โอนเงินไปเพิ่มอีก 2 ล้านบาท เพื่อตรวจสอบเพิ่มเติม จึงโอนไปอีก 2 ครั้ง 5 แสนบาท และ 1.5 ล้านบาท
จบการหลอก เมื่อเหยื่อเริ่มรู้ตัวหลังพูดคุยข้ามคืน เริ่มสงสัยถูกหลอก ตัดสินใจโทรอายัดบัญชี เก็บหลักฐาน เข้าแจ้งความ

เปรียบเทียบแบบแผนที่เตือนกันมาตลอดกับข้อเท็จจริงคดีนี้ ต้องยอมรับว่าเข้าทาง-ตรงสูตร

นอกเหนือการดำเนินคดี สิ่งที่สะท้อนออกมา และเป็นโจทย์ใหญ่ให้ต้องแก้ไขปัญหาคือ ทำให้คนที่ยังไม่รู้ ควรรู้ให้มากขึ้น เพราะ “ภูมิคุ้มกัน” ส่วนบุคคลเป็นเรื่องสำคัญ เมื่อเผชิญหน้ากับสายมิจฉาชีพ ตัวเองเท่านั้นที่ต้องมีสติและรู้เท่าทัน จึงจะรอดจากการตกเป็นเหยื่อ.

ทีมข่าวอาชญากรรม รายงาน

[email protected]