เรียนคุณหมอ ดร.โอ สุขุมวิท 51 ที่นับถือ

ผมเป็นชายสูงวัยอายุ 81 ปีแล้ว มีโรคประจำตัวคือ โรคหัวใจเป็นมานานกว่า 10 ปีได้ ตอนนี้ได้รับการผ่าตัดใส่บอลลูนเรียบร้อยแล้ว ช่วงที่รู้ว่าตัวเองเป็นโรคหัวใจก็กลัวมาก ไม่กล้ามีเพศสัมพันธ์กับภรรยาเลยเพราะกลัวจะหัวใจวายตาย ซึ่งก็ไม่ได้ทำให้ภรรยาขาดความสุขแต่อย่างไรเพราะเธอก็มีอายุเกือบ 70 ปีแล้ว อารมณ์เพศก็เหลือน้อยมากแล้ว

แต่ปัญหาอยู่ที่ตัวผมถึงจะสูงวัยขนาดนี้ก็ยังมีความต้องการทางเพศอยู่ ขอเดือนละ 1-2 หน ก็พอใจแล้ว จึงปรึกษากับภรรยา ภรรยาบอกว่าไม่มีอารมณ์เลย และเธอสงสารผมมากก็เลยติดต่อหญิงวัย 45 ปีให้มานอนกับผม ตามที่ผมต้องการ แต่ผมกลับไม่สู้อวัยวะเพศไม่แข็งตัวทำอย่างไรก็ไม่แข็ง งงมากเพราะไม่เคยเป็นมาก่อน ซึ่งก่อนนี้ก็ยังแข็งตัวดีอยู่บ้าง แต่เมื่อป่วยเป็นโรคหัวใจทุกอย่างในร่างกายก็เริ่มเปลี่ยนไป จึงอยากทราบว่าคนที่เป็นโรคหัวใจทุกคนจะต้องมีอาการไม่แข็งตัวทุกคนหรือเปล่า และอาการอย่างนี้จะรักษาได้บ้างไหม ตอนนี้ทรมานจิตใจเหลือเกิน มีโอกาสเอื้ออำนวยให้หมดแต่ความแข็งแรงของอวัยวะเพศกลับไม่พร้อมใช้งานเลย จะทำอย่างไรดี

ด้วยความเคารพ

เจษฎา

ตอบ เจษฎา

โรคหัวใจมักทำให้เกิดปัญหาทางเพศได้มากกว่าโรคอื่น ๆ ผู้ป่วยโรคหัวใจมักจะมีความกลัวต่าง ๆ นานา เช่น กลัวว่าความตื่นเต้นและออกกำลังกายขณะร่วมเพศจะทำให้หัวใจวาย หรือทำให้สภาวะของโรคแย่ลง กลัวว่าแพทย์จะห้ามการร่วมเพศทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างสามีกับภรรยาเสียไป หรือคิดว่าการเป็นโรคหัวใจเป็นเครื่องบอกว่าแก่แล้วและหน้าที่ทางเพศกำลังสิ้นสุดลง เหล่านี้เป็นการกลัวโดยใช่เหตุ

จากการสำรวจของนักวิจัยคนหนึ่งในสหรัฐพบว่า 1ใน 3 ของคนที่เป็นโรคหลอดเลือดหัวใจอุดตันเท่านั้นที่มีกิจกรรมทางเพศเหมือนเดิม และ 1 ใน 10 จะเป็นโรคหย่อนสมรรถภาพทางเพศ ตามปกติแล้วผู้ป่วยโรคหัวใจส่วนใหญ่จะสามารถร่วมเพศได้ใหม่ภายในเวลา 6-8 สัปดาห์หลังการเจ็บป่วย ถ้าไม่มีอาการเจ็บหน้าอกขณะออกกำลังกาย มีรายงานการวิจัยฉบับหนึ่งรายงานเกี่ยวกับเพศสัมพันธ์ของคนที่เป็นโรคหัวใจจากการอุดตันของหลอดเลือดหัวใจและคนที่ยังไม่เป็นโรคหัวใจแต่มีความโน้มเอียงที่จะเป็น พบว่าประมาณ 1 ใน 3 ของคนที่เป็นโรคมีอาการระหว่างทำกิจกรรมทางเพศหนึ่งครั้งอาการที่พบบ่อยคือหัวใจเต้นแรงซึ่งมักเกิดหลังจากมีความสุขสุดยอด

อย่างไรก็ดีผู้ป่วยจำนวนหนึ่งได้รับการตรวจติดตามการทำงานของหัวใจตลอด 48 ชั่วโมง พบว่าการร่วมเพศไม่ทำให้ร่างกายทำงานมากเกินไป จึงไม่มีเหตุผลที่จะให้คนซึ่งเป็นโรคหัวใจหยุดกิจกรรมทางเพศหลังจากพักรักษาตัว 4-6 สัปดาห์แล้ว การฟื้นฟูอาการอีดีของผู้ป่วยโรคหัวใจที่ไม่มีการใช้ยากลุ่มไนเตรตก็สามารถใช้ยาฟื้นฟูหลอดเลือดควบคู่กับยาเฉพาะกิจได้อย่างปลอดภัย แต่หากต้องได้รับการรักษาด้วยยากลุ่มไนเตรตอยู่ก็ต้องอาศัยวิธีกระตุ้นเส้นเลือดให้งอกใหม่มาช่วยในการรักษา ควบคู่กับการบริหารกล้ามเนื้อเพศเพื่อให้หลอดเลือดที่สร้างขึ้นมาใหม่มีการขยายตัวและยืดหยุ่นได้ดี การฟื้นฟูอาการอีดีของผู้เป็นโรคหัวใจจึงจำเป็นต้องเข้ารับการฟื้นฟูจากแพทย์โดยตรง อย่างไรก็ดีความถี่ในการร่วมเพศของคนที่เป็นโรคหัวใจไม่ควรจะมากกว่าที่เคยปฏิบัติ ส่วนสำคัญให้อวัยวะเพศแข็งตัว โดยไม่มีอันตรายในคนที่เป็นโรคหัวใจ ก็คือฝึกบริหารกล้ามเนื้อเพศ 2 สัปดาห์ โดยไม่ต้องกินยาเฉพาะกิจ.

ดร.โอ สุขุมวิท 51

คลิกอ่านบทความทั้งหมดได้ที่นี่