ส่องพระยอดนิยม วันเสาร์ที่ 16 พฤศจิกายน พ.ศ.2567 พุทธสุภาษิตสอนใจวันนี้ “อะเสวะนา จะ พาลานัง” แปลว่า ไม่คบคนพาลเป็นมิตร จะชักจูงไปในทางที่ผิด โง่เขลาเบาปัญญา มีแต่ทำให้เสื่อมถอย
ชมพระสวย ๆ ร่ำรวยล่ำซำเพื่อชีวิตที่ดีกว่า ประเดิมด้วย พระสมเด็จพิมพ์ใหญ่ กรุวัดใหม่อมตรสบางขุนพรหม หรือ พระสมเด็จวัดบางขุนพรหมพิมพ์ใหญ่ สวยใสเดิม ๆ ไม่มีอุดไม่มีซ่อม รอยปั๊มตรายางด้านหลังรางเลือนตามกาลเวลา บ่งชี้ว่าเป็น “กรุใหม่” ที่ทางวัดเปิดกรุเป็นทางการปี พ.ศ.2500 หากเป็น “กรุเก่า” ไม่มีตรายาง จำได้หลายปีก่อนอยู่ในรังของ สมาน คลองสาม อุปนายกสมาคมผู้นิยมพระเครื่องพระบูชาไทย ไม่รู้ป่านนี้ถูกนิมนต์ไปเข้าบ้านเศรษฐีคนไหนแล้ว ขอย้อนรำลึกมาลงให้หายคิดถึงและศึกษากัน รักสมเด็จจำพิมพ์ทรงให้แม่น ๆ ตามด้วยเนื้อหามวลสาร บางขุนพรหม และวัดระฆัง ความหนึกนุ่มความละเอียดจะต่างกัน รวมถึงอายุขัยของพระ ย่อมมีรอยยุบย่น ยิ่งอยู่ในกรุมักโย้เอียงเป็นหลักพิจารณาได้อย่างหนึ่ง ถ้ามาแบบทื่อ ๆ ดูแล้วขัดสายตาล่ะอันตรายนะพี่น้องเอ๋ย
ถัดมา พระปิดตาพระครูญาณ วัดสัมปทวน จ.ฉะเชิงเทรา ของ เสี่ยชัย โพรงอากาศ รองประธานชมรมพระเครื่องเมืองแปดริ้ว เนื้อผงคลุกรักเก่าแท้ตาเปล่า หาชมยาก พุทธคุณครบเครื่องครอบจักรวาล นาน ๆ จะเห็นสวยธุดงค์มาสักองค์ ฝากเผยแพร่เกียรติคุณ ของดีจริง มีแล้วร่ำรวย เมตตามหาเสน่ห์มิรู้ลืม
ส่วนนี่ ตะกรุดในตำนาน เนื้อนาก หายากสุด ๆ หลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก จ.ฉะเชิงเทรา สร้างประมาณปี พ.ศ 2470-2480 สุดยอดพุทธคุณ เมตตามหานิยม แคล้วคลาด และคงกระพันครบถ้วน คุณตั๋ง สาวชะโงก ส่งมาให้ชมเป็นวิทยาทาน
นาทีนี้เอ่ยถึง พระอาจารย์อดิเรก อนุตตโร วัดหนองทราย จ.สุพรรณบุรี แล้วรับรองทุกคนต้องรู้จัก ท่านติดทำเนียบพระเกจิยุคใหม่ที่กำลังมาแรง มุ่งมั่นพัฒนาวัดทุกวัน วัตถุมงคลทุกรุ่นได้รับความนิยมสูง ประสบการณ์เพียบ พระปิดตาเศียรแหลมเนื้อทองคำ รุ่นฉลองวิหาร 2566 และ พระอุปคุตเนื้อทองคำรุ่นฉลองวิหาร 2566 ก็ติดทำเนียบของดีอนาคตไกล เมตตาแรง เรียกเงินทองดีนัก เฮียนันต์ ท่าพระจันทร์ เก็บไว้ทุกรุ่นทุกพิมพ์ แถมหวงมากด้วย ใครสนใจศึกษาองค์จริงแวะเวียนไปปรึกษาเรื่องพระกับเฮียได้ตลอด อัธยาศัยดี เป็นกันเอง คุยง่ายใจถึงพึ่งได้ตัวจริง โทร.08-1620-8799
พระกริ่งมหาราช วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์ท่าเตียน) ปี 2512 ปลุกเสกโดยสุดยอดพระคณาจารย์ในปีนั้นจำนวน 108 รูป สร้างโดยสมเด็จพระสังฆราช (ป๋า) สมัยดำรงสมณศักดิ์ “สมเด็จพระวันรัต” พุทธศิลป์ เป็นพระกริ่งขนาดกำลังดี ถอดแบบมาจากพระบูชาเชียงแสนสิงห์หนึ่ง เนื้อนวโลหะผสม ทองชนวนพระราชทานของในหลวงรัชกาลที่ 9 แผ่นยันต์ตามตำราทำพระกริ่ง ชนวนพระกริ่งนเรศวรรุ่นแรก ปี 2507 ชนวนพระกริ่งนเรศวรเมืองงาย ปี 2512 ออกแบบแกะแม่พิมพ์โดยนายช่างเกษม มงคลเจริญ ผสมเนื้อโดย อ.ไสว วัดราชนัดดา จัดพิธีพุทธาภิเษกเป็นเวลา 3 วัน 3 คืน ตั้งแต่วันที่ 1-3 ธันวาคม 2512 โดยเกจิดัง อาทิ สมเด็จป๋า หลวงปู่โต๊ะ หลวงพ่อมุ่ย หลวงพ่อเงิน หลวงปู่ทิม หลวงพ่อคล้าย พระอาจารย์นำ หลวงปู่สุข วัดโพธิ์ทรายทอง หลวงพ่อหอม พระอาจารย์ฝั้น หลวงปู่ดูลย์ หลวงปู่สาม หลวงปู่เทสก์ หลวงปู่สิม หลวงพ่อแพ หลวงพ่อนอ หลวงปู่เทียม หลวงพ่อแทน หลวงพ่อกี๋ วัดหูช้าง ท่านเจ้าคุณนรฯ วัดเทพศิรินทร์ ฯลฯ ใครมีไว้บูชาแล้วดีทุกทาง หน้าที่การงานดีเจริญรุ่งเรือง แคล้วคลาดปลอดภัย โชคลาภและเมตตามหานิยม ทำบุญติดต่อที่ 06-4014-8555
พระปิดตาจันทร์ลอยบัวบาน ท่านเจ้าคุณวิเชียร วัดเครือวัลย์ จ.ชลบุรี หลังยันต์นะมหานิยม ปี 2519 มีพุทธคุณด้านเมตตามหานิยมโชคลาภแคล้วคลาดเป็นเอกอุ เป็นที่นิยมเล่นหากัน รูปแบบสวยงามเป็นเอกลักษณ์ เจ้าคุณวิเชียรเป็นพระนักพัฒนา และชอบสร้างวัตถุมงคลนำปัจจัยไปบูรณะวัดเจริญรุ่งเรือง วัตถุมงคลทุกรุ่นมีผงพระปิดตาหลวงพ่อแก้ว วัดเครือวัลย์ฯ ที่ตกทอดมาถึงท่านผ่านหลวงพ่อถัน หลวงพ่อปาน หลวงพ่อบ๊วย ผู้เป็นอาจารย์ ส่วนมากจะเป็น “พระปิดตาควัมบดี” สืบสานตำราจากหลวงพ่อแก้ว หนึ่งในสุดยอดแห่งพระปิดตาสยามประเทศ พระรุ่นนี้มีประสบการณ์มากมายเป็นที่นิยมมากในปัจจุบัน ผู้สนใจติดต่อ 06-5920-5828
พระกริ่งใหญ่วัดชนะสงคราม ปี 2484 หรือพระกริ่งประจำครอบน้ำมนต์ สมเด็จพระสังฆราชแพ ทรงเป็นประธานสร้าง เจ้าคุณศรีฯ (สนธิ์) เป็นเจ้าพิธี พิธีเททองและพุทธาภิเษก ณ พระอุโบสถวัดชนะสงครามราชวรมหาวิหาร ถือเป็นพระกริ่งรุ่นแรกของวัด สร้างจากชนวนพระกริ่งวัดสุทัศน์ หลายสิบรุ่น แผ่นพระยันต์ 108 และนะปถมัง 14 พระยันต์พิชัยสงครามตามตำรับของวัดชนะสงคราม พระคณาจารย์ที่มาร่วมพิธี สมเด็จพระสังฆราชชื่น วัดบวรฯหลวงพ่อลับ วัดชนะฯ หลวงพ่อจาด หลวงพ่อจง หลวงพ่อคง หลวงพ่ออี๋ หลวงพ่อเหลือ วัดสาวชะโงก ฯลฯ เกจิยุคสงครามอินโดจีนมากันหมด จัดเป็นพระดีมีมงคลในยุคสงครามโลกครั้งที่ 2 พุทธคุณครอบจักรวาล ผู้สนใจติดต่อ 06-4014-8555
ลาด้วยคำคม “หมั่นทำดี ทำบุญอิ่มใจ บันดาลชีวีเป็นสุข” สวัสดี
หมู มหาเวทย์