ไฮไลท์ทางการเมืองต้นสัปดาห์ที่ผ่านมา ของ “สภาสูง” คือ เมื่อวันที่ 24 ก.ย.67 ได้เลือกประธานคณะกรรมาธิการ (กมธ.) สามัญ ประจำวุฒิสภา 21 คณะ เรียบร้อยแล้ว ดังนี้1.นายธวัช สุระบาล ประธาน กมธ.การเกษตรและสหกรณ์2.พล.ต.ท.บุญจันทร์ นวลสาย ประธาน กมธ.การกฎหมายและการยุติธรรม 3.นางอังคณา นีละไพจิตร ประธาน กมธ.การพัฒนาการเมือง การมีส่วนร่วมของประชาชน สิทธิมนุษยชน สิทธิ เสรีภาพ และการคุ้มครองผู้บริโภค 4.นายนิรัตน์ อยู่ภักดี ประธาน กมธ.การต่างประเทศ 5.พล.อ.สวัสดิ์ ทัศนา ประธาน กมธ.การทหารและความมั่นคงของรัฐ 6.นายอภิชาติ งามกมล ประธาน กมธ.การปกครองท้องถิ่น 7.นายวุฒิชาติ กัลยาณมิตร ประธาน กมธ.การคมนาคม 8.พล.ต.ท.ยุทธนา ไทยภักดี ประธาน กมธ.การบริหารราชการแผ่นดิน

9.พล.ต.ต.ฉัตรวรรษ แสงเพชร ประธาน กมธ.กิจการองค์กรอิสระตามรัฐธรรมนูญ การป้องกัน และปราบปรามการทุจริต ประพฤติมิชอบ และการเสริมสร้างธรรมาภิบาล10.นายวิวรรธน์ ไกรพิสิทธิ์กุล ประธาน กมธ.การพาณิชย์และการอุตสาหกรรม11.นายกมล รอดคล้าย ประธาน กมธ.การศึกษา การอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม12.นายพิศูจน์ รัตนวงศ์ ประธาน กมธ.การท่องเที่ยวและการกีฬา13.นายนิเวศ พันธ์เจริญวรกุล ประธาน กมธ.การเทคโนโลยีสารสนเทศ การสื่อสาร และการโทรคมนาคม 14.นางวราภัสร์ ไพพรรณรัตน์ ประธาน กมธ.การพัฒนาสังคม และกิจการเด็ก เยาวชน สตรี ผู้สูงอายุ คนพิการ ผู้ด้อยโอกาส และความหลากหลายทางสังคม

15.นายอลงกต วรกี ประธาน กมธ.การติดตามการบริหารงบประมาณ 16.นายกัมพล สุภาแพ่ง ประธาน กมธ.การเศรษฐกิจ การเงิน และการคลัง 17.นายพรเพิ่ม ทองศรี เป็นประธาน กมธ.การพลังงาน18.นายวิรัตน์ รักษ์พันธ์ เป็นประธาน กมธ.การแรงงาน19.นายชีวภาพ ชีวธรรม ประธาน กมธ.ทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม 20.นางเอมอร ศรีกงพาน ประธาน กมธ.ศาสนา 21.นายประพนธ์ ตั้งศรีเกียรติกุล ประธาน กมธ.การสาธารณสุข

ทั้งนี้ ส.ว.ส่วนใหญ่ที่ได้ตำแหน่ง ประธาน กมธ.นั้นมาจาก “สว.สายสีน้ำเงิน” ถึง 20 ชุด มีเพียง 1 ชุดที่มากับดวง ใช้วิธีจับฉลาก หลังลงคะแนน 2 รอบคะแนนเท่ากัน ระหว่าง นางอังคณา และ “ ผู้ว่าฯปู” นายวีระศักดิ์ วิจิตร์แสงศรี จนสุดท้าย “อังคณา” คือ หนึ่งเดียวที่ฝ่า สว.สายสีน้ำเงิน นั่งประธานกมธ.ซึ่งถือว่าเป็นชุดสำคัญด้วย เพราะก่อนหน้านี้ กมธ.ชุดนี้ มี นายสมชาย แสวงการ อดีต สว.ตัวตึง นั่งเก้าอี้ประธาน กมธ.ชุดนี้

การที่ได้ “ อังคนา” เข้ามาเป็นประธานกมธ.ในครั้งนี้ เพราะสายสีน้ำเงินเดินเกมพลาด ตั้งแต่การส่งคนเข้ามาเป็นกมธ.แค่ 9 คน จากทั้งหมด 18 คน ทำให้คุมเสียงข้างมากไม่ได้ พอต้องโหวตกัน ปรากฏว่า ผลออกมา 9ต่อ 9 จึงต้องจับสลากกันจน “อังคนา” ได้เก้าอี้ ซึ่งเก้าอี้ ประธานกมธ.คณะนี้ เป็นคณะที่มีอำนาจหน้าที่กว้างขวาง ทั้งในเรื่องการเมือง และอาจรวมไปถึงกิจการทหารในกรณีที่มีละเมิดสิทธิมนุษยชน โดยเฉพาะกรณีละเมิดสิทธิมนุษยชนในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ ที่กมธ.คณะนี้จะมีอำนาจเข้าไปตรวจสอบด้วยได้

อย่าลืมว่า “อังคนา” มีเรื่องบาดหมางกับทหารมาตั้งแต่ยุค “คสช.” เมื่อครั้ง “อังคนา” เข้ามาเป็นกรรมการสิทธิมนุษยชน (กสม.) ก่อนที่เมื่อมีการจัดทำร่างกฎหมาย กสม.ฉบับใหม่ตามรัฐธรรมนูญ ด้วยการอ้างต้องให้สอดคล้องกับข้อตกลงระหว่างประเทศ ทำให้มีตราบทเฉพาะกาลที่ทำให้ กสม.ชุดของ “อังคณา” ต้องลงจากจากตำแหน่งก่อนครบวาระ แม้ว่ากฎหมายจะให้ทำงานต่อไปได้จนกว่าจะมี กสม.ชุดใหม่ แต่สุดท้าย “อังคนา” ก็ลาออกจากตำแหน่ง ซึ่งว่ากันว่ามาจากแรงกดดันในทางการเมืองที่มาจากฝ่ายความมั่นคง

ดังนั้น ถึงแม้จะเป็นเก้าอี้เพียงตัวเดียวที่ “สายสีน้ำเงิน” ต้องพลาดไป แต่เป็นเก้าอี้สำคัญที่มีอำนาจตรวจสอบแบบครอบจักรวาล เหมือนเมื่อครั้ง สว.จากการลากตั้ง คสช.ก็อาศัยอำนาของ กมธ.ชุดนี้. มาเป็นเครื่องมือในการตรวจสอบฝ่ายตรงข้ามแบบไม่มีที่สิ้นสุด

งานนี้ “ส.ว.สายสีน้ำเงิน” อาจต้องมีการเช็คบิลกันเองและคาดโทษกันบ้าง เพื่อไม่ให้ชะล่าใจและประมาทซ้ำรอยแบบนี้อีก.